ศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ป่วยเสพติดที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร

ผู้แต่ง

  • มานัส โพธาภรณ์ กรมการแพทย์
  • นันทา ชัยพิชิตพันธ์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
  • จิตตรัตน์ ศรีวิเลิศ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเสพติด, อุบัติเหตุจราจร, ภาวะความรู้คิดบกพร่อง

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาระดับโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคมที่มีการใช้ยานพาหนะเพื่อ      การคมนาคม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจร ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อม โดยยาและสารเสพติดเป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้บุคคลเกิดความบกพร่องของสมองที่เกี่ยวกับความรู้คิดจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจราจรวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ป่วยเสพติดที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร และมีวัตถุประสงค์รอง คือ 1) ปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุจราจรในผู้ป่วยเสพติด 2) จำนวนและสัดส่วนการเกิดภาวะความรู้คิดบกพร่องในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารสารเสพติดประเภทต่าง ๆ วิธีการวิจัย เป็นศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยเสพติดทุกประเภทที่เข้ารับ  การบำบัดในสถานบำบัดรักษายาเสพติดทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 607 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล แบบทดสอบ Trail Marking Test A & B, Stroop Color-Word test, Digit Symbol (WAIS-III) และแบบสอบถามการเกิดอุบัติเหตุจราจร เครื่องมือชุด 1 และ 5 ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนที่เป็นอิสระต่อกัน มีค่าประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 เครื่องมือในชุดที่ 2 – 4 เป็นเครื่องมือมาตรฐานด้านประสาทจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square test (c2), Fisher’s exact test, Odds ratio และ 95%CI เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2565 – 31 มกราคม 2566 ผลการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรคือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับรถน้อยกว่า 20 ปี โดยพบการเกิดอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 18.3 และมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ด้านจำนวนและสัดส่วนการเกิดภาวะความรู้คิดบกพร่องพบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้ป่วยเสพติดยาบ้า สุรา และเฮโรอีน พบร้อยละ 43.7, 23.6 และ 2.1 ตามลำดับ โดยมีโอกาสเกิดภาวะความรู้คิดบกพร่องมากกว่าการใช้ยาและสารเสพติดประเภทอื่น 2.34 และ 2.30 และ 0.44 เท่าตามลำดับ สรุป ผลของการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดความรู้คิดบกพร่องกับประวัติการเกิดอุบัติเหตุจราจร แต่พบว่าผู้ป่วยเสพติดยาบ้าและสุรามีโอกาสเกิดภาวะความรู้คิดบกพร่องมากกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดประเภทอื่น

Author Biography

นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

Thai

References

United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). World Drug Report 2021. Vienna Austria: United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC); 2022.

มานพ คณะโต, กนิษฐา ไทยกล้า, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, จิตรลดา อารียสันติชัย, ศยามล เจริญรัตน์, พูนรัตน์ ลียติกุล และคณะ. รายงานผลการการสำรวจครัวเรือนเพื่อคาดประมาณจำนวนประชากรผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2562.

วิโรจน์ วีรชัย. เส้นทางสู่การติดยาและหนทางสู่การเลิกยาเสพติด. ใน:วิโรจน์ วีรชัย, อังกูร ภัทรากร, ล่ำซ่ำ ลักขณาภิชนชัช, ฉวีวรรณ ปัญจบุศย์, นิภา ณีสกุล, บรรณาธิการ. ตำราการเวชศาสตร์การเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2548. หน้า 132-45.

สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ก้าวสู่ทศวรรษความปลอดภัยทางถนน. ใน: จดหมายข่าว“ต้นคิด” รายเดือน [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hiso.or.th/hiso/ picture/reportHealth/tonkit31.pdf.

ศูนย์อุบัติเหตุทางถนนเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย. ทศวรรษที่สองของการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยทางถนน 2021 – 2030 [อินเทอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.thairsc.com/.

Bates ME, Bowden SC, Barry D. Neurocognitive impairment associated with alcohol use disorders: implications for treatment. Exp Clin Psychopharmacol 2002;10(3):193–212.

Hart CL, Marvin CB, Silver R, Smith EE. Is cognitive functioning impaired in methamphetamine users? : a critical review. Neuropsychopharmacology 2012;37(3):586-608.

World Health Organization. Global status report on alcohol 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.

ศูนย์ข้อมูลสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ดื่มแล้วขับกับอุบัติเหตุทางถนน ปัญหาที่ยังคงท้าทายของไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/.

Elvik R. Risk of road accident associated with the use of drugs: a systematic review and meta-analysis of evidence from epidemiological studies. Accid Anal Prev 2013;60:254-67.

ธิดารัตน์ ศรีสุโข, เกสร ทมฑิตชงค์, ธนพงษ์ ขวัญคง, ทัศไนย วงศ์สุวรรณ, จิตรพันธ์ โพธิ์ไพโรจน์, จินตนา หะรินเดช. ความสามารถเชิงคิดความเข้าใจในผู้ป่วยเสพติดเมทแอมเฟตามีน. วารสารสวนปรุง 2546;19(1)24-34.

Huisingh C, Owsley C, Wadley VG, Levitan EB, Irvin MR, MacLennan P, et al. General cognitive impairment as a risk factor for motor vehicle collision involvement: a prospective population-based study. Geriatrics (Basel) 2018;3(1):11.

บุญยืน ศรีสว่าง.แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนเขตพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2561;32(4):1451- 61.

Fitzpatrick Kay, Carlson PJ, Wooldridge MD, Brewer MA. Design factors that affect driver speed on suburban arterials research report: Texas : Texas Transportation Institute; 2000.

พรรณี สุรินทชัย. การเกิดอุบัติตุจราจรและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2557;1:3-14.

Spengler K, Babika C, Sterk V, Yassin SS, Golden CG. A-65 * Stroop Test as a predictor of driving mistakes. Arch Clin Neuropsychol 2014;29(6):527. doi:https:// doi.org/10.1093/arclin/acu038.65.

จุฑามาศ แหนจอน. จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive psychology). กรุงเทพฯ: แกรนด์พอยท์; 2561.

Oscar-Berman M, Shagrin B, Evert DL, Epstein C. Impairments of brain and behavior: the neurological essects of alcohol. Alcohol Health Res World 1997; 21(1):65-74.

Liappas I, Theotoka I, Kapaki E, Ilias I, Paraskevas GP, Soldatos CR. Neuropsychological assessment of cognitive function in chronic alcohol-dependent patients and patients with alzheimer's disease. In Vivo 2007;21(6):1115-18.

ศรัณย์ กอสนาน. กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด. วารสาร มฉก.วิชาการ 2547;8(15):83-93.

Mehmedic Z, Chandra S, Slade D, Denham H, Foster S, Patel AS, et al. Potency trends of Δ9-THC and other cannabinoids in confiscated cannabis preparations from 1993 to 2008. J Forensic Sci 2010;55(5):1209-17.

Somayeh M, Solat N, Banihashem SS, Kheradmand A, Mohammadi SD, Chalakinia N. Cognitive function methadone maintenance patients compared with abstinent opioid users. J Addict Dis 2021;39(4):537-44.

Meier MH, Caspi A, Ambler A, Harrington H, Houts R, Keefe RSE, et al. Persistent cannabis users show neuropsychological decline from childhood to midlife. Proc Natl Acad Sci U S A 2012;109(40):E2657-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31