การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลสนามสำหรับรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลสนามในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่อหน่วย, อัตราการคืนทุน, โรงพยาบาลสนาม, โคโรนาไวรัส 2019บทคัดย่อ
โรงพยาบาลสนามได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสของผู้ป่วยไปยังครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงผู้รับบริการโรคอื่นๆ ในโรงพยาบาลอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นมานั้น ก็ได้ใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์, วัสดุและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงงบลงทุนรายการครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเรื่องราวดังกล่าวนี้น้อยมาก งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุต้นทุนต่อหน่วยและอัตราคืนทุนของโรงพยาบาลสนามสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกของโรงพยาบาลและฐานข้อมูลค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลสนามอำเภอบางบัวทอง ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลบางบัวทองที่เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม - 4 ตุลาคม พ.ศ.2564 วิเคราะห์ข้อมูลจากมุมมองผู้ให้บริการโดยพิจารณาเฉพาะต้นทุนทางบัญชีเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลสนามมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 979 คน มีต้นทุนรวมทั้งหมด 8,081,868 บาท คิดเป็นต้นทุน 8,256 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย โดยได้รับเงินชดเชยจากการให้การรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้น 32,086,067.26 บาท โดยมีอัตราการคืนทุนเท่ากับ 6.00 ผลการวิจัยนี้อาจช่วยให้เกิดประโยชน์ไม่เพียงแต่พัฒนาการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมของโรงพยาบาลสนามเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพอัตราการจ่ายชดเชยจากกองทุนระบบประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
References
World Health Organization. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard 2021 [Internet]. 2021. [cited 2021 Jul 15]. Available from: https://covid19.who.int/.
Kaye AD, Okeagu CN, Pham AD, Silva RA, Hurley JJ, Arron BL, et al. Economic impact of COVID-19 pandemic on healthcare facilities and systems: international perspectives. Best Pract Res Clin Anaesthesiol 2021;35(3):293-306.
Bong CL, Brasher C, Chikumba E, McDougall R, Mellin-Olsen J, Enright A. The COVID-19 pandemic: effects on low- and middle-income countries. Anesth Analg 2020;131(1):86-92.
International Bank for Reconstruction and Development, The World Bank. Thailand economic monitor restoring incomes recovering jobs. Bangkok : World Bank Group, Thailand Office; 2021.
World Health Organization, Regional Office for South-East Asia. COVID-19 health system response monitor Thailand [Internet]. 2020 [cited 2021 Jul 15]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/334146/9789290228011-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g06_facility_030463.pdf
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Oxford Policy Management and United Nations. Social impact assessment of COVID-19 in Thailand [Internet]. 2020 [cited 2021 Jul 15]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/reports/social-impact-assessment-covid-19-thailand
Shepard DS, Hodgkin D, Anthony Y. Analysis of hospital costs: a manual for manager [Internet]. 2000 [cited 2021 Jul 15]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/42197
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานราชการ (กระทรวงสาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: http://iad.moph.go.th/main/หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเส/
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/9186
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uckkpho.com/state-less/1077/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง