อุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดความดันโลหิตต่ำหลังการใช้ยาระงับความรู้สึกผ่านไขสันหลังในกลุ่มผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ทรัพย์บุญ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตต่ำ, การระงับความรู้สึกผ่านไขสันหลัง, ผ่าตัดคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหลังการใช้ยาระงับความรู้สึกผ่านไขสันหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า prospective study โดยเก็บรวบรวมจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในสตรีมีครรภ์ครบกำหนดให้เข้ารับการผ่าตัดคลอด ภายใต้การระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566 ใช้การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 149 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยทีละตัวแปร ใช้การวิเคราะห์ลอจิสติคถดถอยอย่างง่าย (Simple logistic regression) วิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์หลายตัวแปรโดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า OR และกำหนดค่าความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: สตรีมีครรภ์ผ่าตัดคลอด 149 ราย พบว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำ 78 ราย (ร้อยละ 52.35) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที (Adjust OR = 3.60; 95%CI : 1.47 – 8.83, p-value = 0.005), น้ำหนักทารกแรกเกิด ตั้งแต่ 2,800 กรัมขึ้นไป (Adjust OR = 3.34; 95%CI : 1.20 – 9.31, p-value = 0.021) และ Anesthetic level ที่ระดับ Above T6 (Adjust OR = 12.27; 95%CI : 2.14 – 70.26, p-value = 0.005) สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที น้ำหนักทารกแรกเกิด ตั้งแต่ 2,800 กรัมขึ้นไป และ Anesthetic level ที่ระดับ Above T6 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถเป็นปัจจัยป้องกัน ในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะความดันต่ำหลังการใช้ยาระงับความรู้สึกผ่านไขสันหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดได้

References

อรวี ฉินทกานันท์, สมศักดิ์ เชาวิศิษฐ์เสรี, อินทิรา ศรีประเสริฐ, ชำนาญ เกียรติพีระกุล. การผ่าตัด Cesarean section. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/faculties/student-extern-intern/extern-intern-corner/learning-manual-for-extern/4645/.

โครการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่? Policy Brief 2021;139(10):1-3.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในการทำ spinal anesthesia. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 7 ต.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: http://anesthai.org/rcat/Documents/ document.

พนาวรรณ จันทรเสนา, มานพ คณะโต, อรวรรณ แสงมณี. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องคลอดไขสันหลังในมารดาผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;1(3):105-16.

Herbosa GAB, Tho NN, Gapay AA, Lorsomradee S, Thang CQ. Consensus on the Southeast Asian management of hypotension using vasopressors and adjunct modalities during cesarean section under spinal anesthesia. J Anesth Analg Crit Care 2022;2(1):56.

Van De Velde M. Spinal anesthesia in the obstetric patient: prevention and treatment of hypotension. Acta Anaesthesiol Belg 2006;57(4):383-6.

Shitemaw T, Jemal B, Mamo T, Akalu L. Incidence and associated factors for hypotension after spinal anesthesia during cesarean section at Gandhi Memorial Hospital Addis Ababa, Ethiopia. PLoS ONE 2020;15(8):e0236755.

Ariyanuchitkul T. Preoperative risk factors of hypotension after spinal anesthesia for elective cesarean delivery in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Anesthesiol 2022;48(3):241–8.

Joshi MC, Raghu K, Rajaram G, Nikhil N, Kumar S, Singh A. Baseline heart rate as a predictor of post-spinal hypotension in patients undergoing a caesarean section: an observational study. J Obstet Anaesth Crit Care 2018;8(1):20.

Kee WDN, Khaw KS, Ng FF. Prevention of hypotension during spinal anesthesia for cesarean delivery: an effective technique using combination phenylephrine infusion and crystalloid cohydration. Anesthesiology 2005;103(4):744–50.

Cyna AM, Andrew M, Emmett RS, Middleton P, Simmons SW. Techniques for preventing hypotension during spinal anaesthesia for caesarean section. Cochrane Database Syst Rev 2006;(4):CD002251.

Klöhr S, Roth R, Hofmann T, Rossaint R, Heesen M. Definitions of hypotension after spinal anaesthesia for caesarean section: literature search and application to parturients. Acta Anaesthesiol Scand 2010;54(8):909–21.

ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. Spinal anesthesia [Internet]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: http://medinfo2.psu.ac.th/anesth/education/spinal.html

Hanss R, Bein B, Ledowski T, Lehmkuhl M, Ohnesorge H, Scherkl W, et al. Heart rate variability predicts severe hypotension after spinal anesthesia for elective cesarean delivery. Anesthesiology 2005;102(6):1086–93.

Frölich MA, Caton D. Baseline heart rate may predict hypotension after spinal anesthesia in prehydrated obstetrical patients. Can J Anaesth J Can Anesth 2002;49(2):185–9.

Rabow S, Olofsson P. Pulse wave analysis by digital photoplethysmography to record maternal hemodynamic effects of spinal anesthesia, delivery of the baby, and intravenous oxytocin during cesarean section. J Matern Fetal Neonatal Med 2017;30(7):759–66.

Kinsella SM, Carvalho B, Dyer RA, Fernando R, McDonnell N, Mercier FJ, et al. International consensus statement on the management of hypotension with vasopressors during caesarean section under spinal anaesthesia. Anaesthesia 2018;73(1):71–92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31