การศึกษาเปรียบเทียบความรุนแรงในครอบครัวของผู้ที่เข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลลำปาง ในช่วงก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ประณิธาน รัตนสาลี กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • ไกรวิชญ์ ประทีปพจน์ กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • ขวัญชนก จงจิตร กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • โชติก นาคนคร กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • เนื้อทอง เรืองทวีป กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

โควิด 19, ความรุนแรงในครอบครัว, ระดับความฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทนำ: จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้มีการออกมาตรการ เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ประชาชนต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลานานและเกิดความเครียดมากขึ้น นอกจากนี้โอกาสการเกิดความรุนแรงในครอบครัวมีสูงขึ้นเนื่องจากผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้อยู่ร่วมกันนานขึ้น ซึ่งจังหวัดลำปาง ยังไม่มีข้อมูลความรุนแรงในครอบครัวในช่วงเวลาดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของความรุนแรงในครอบครัวและระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่โรงพยาบาลลำปาง ในช่วงก่อนและระหว่างสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 วิธีการศึกษา: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลลำปาง ในช่วงเวลาก่อนสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และช่วงเวลา ระหว่างสถานการณ์การระบาด ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 747  ราย เป็นผู้ป่วยในช่วงก่อนสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จำนวน 389 ราย และในช่วงระหว่างสถานการณ์การระบาด จำนวน 358 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างการระบาด คิดเป็น 87.7% และ 82.1% ตามลำดับ ประเภทของความรุนแรงทางด้านร่างกายเป็นประเภทที่พบมากที่สุดทั้งในช่วงก่อนและระหว่างการระบาด คิดเป็น 76.6% และ 81% ตามลำดับ เมื่อประเมินระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยโดยแบ่งตามการประเมินสภาพของผู้ป่วย พบว่า ระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยในช่วงระหว่างการระบาดของ COVID-19 มีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยในช่วงก่อนการระบาด คิดเป็น 63.7% และ 45.2% ตามลำดับ สรุป: จำนวนผู้ป่วยในช่วงระหว่างการระบาดของ COVID-19 ลดลงจากในช่วงก่อนการระบาด แต่ระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยในช่วงระหว่างการระบาด มีจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

References

Open Development Thailand. โควิด 19 (COVID-19) ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค.2564] เข้าถึงได้จาก: https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/pandemics-covid-19/

Goh KK, Lu ML, Jou S. Impact of COVID-19 pandemic: social distancing and the vulnerability to domestic violence. Psychiatry Clin Neurosci 2020;74(11):612-13.

Peraud W, Quintard B, Constant A. Factors associated with violence against women following the COVID-19 lockdown in France: Results from a prospective online survey. PLoS One 2021;16(9):e0257193.

Rodriguez L. Domestic Violence Increased in the US by 8.1% During the COVID-19 Pandemic [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 17]. Available from: https://www.globalcitizen.org/en/content/domestic-violence-covid-19-increase-us-ncccj-study/

Gama A , Pedro AR, de Carvalho MJL, Guerreiro AE, Duarte V, Quintas J, et al. Domestic violence during the COVID-19 pandemic in Portugal. Port J Public Health 2021;38(Suppl.1):32-40.

Leslie E, Wilson R. Sheltering in place and domestic violence: evidence from calls for service during COVID-19. J Public Econ 2020;189:104241.

Maji S, Bansod S, Singh T. Domestic violence during COVID-19 pandemic: the case for Indian women. J Community Appl Soc Psychol 2021;32(3):374-81.

กรมสุขภาพจิต. จะทำอย่างไร เมื่อความรุนแรงไม่ใช่เรื่องไกลตัวและบ้านไม่ใช่ Safe Zone ของทุกคน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค.2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30715

สำนักข่าวไทย. สถิติความรุนแรงในครอบครัว ช่วงโควิดพุ่งสูงเฉลี่ย 200 เรื่อง/เดือน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธ.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://tna.mcot.net/social-808024

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. นิยามและประเภทครอบครัว [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ย. 2565] เข้าถึงได้จาก: http://intranet.dop.go.th/intranet_older/fls/fls_uploads/52747/นิยามและประเภทครอบครัว.pdf

ชลาศัย กันมินทร์. ความรุนแรงในครอบครัว: ปัญหาและแนวทางป้องกัน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-136.pdf

ศรัณย์ คัมภิรานนท์. ความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย (Domestic Violence in Thai Society) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.senate.go.th/document/Ext23112/23112774_0002.PDF

โรงพยาบาลระนอง. ศูนย์บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง (One Stop Crisis Center, OSCC) หรือ “ศูนย์พึ่งได้”: บทบาทหน้าที่ของศูนย์พึ่งได้.[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 พ.ย.2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.rnh.go.th/main/index.php/oscc

สุไรยา รามาน, นุสรา ศรีศรัยมณี, ชนากานต์ เกิดกลิ่นหอม. TRIAGE [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/31_65_1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31