ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะเครียดและซึมเศร้า ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาแบบรับไว้นอนในโรงพยาบาลและรักษาตัวที่บ้านในอำเภอนาน้อย จ.น่าน

ผู้แต่ง

  • วิษณุ มงคลคำ กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลนาน้อย จังหวัดน่าน
  • อภัยพรน์ ศุกลเศรษฐ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาน้อย จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19, ภาวะเครียด, ภาวะซึมเศร้า, หอผู้ป่วยรวม, โรงพยาบาลสนาม, การรักษาแบบคนไข้ในที่บ้าน, การรักษาแบบคนไข้นอก

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อโควิด-19 นอกจากจะก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางกายแล้วยังมีผลกระทบกับสุขภาพจิตอีกด้วยโดยเฉพาะภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าจึงเป็นเหตุจำเป็นที่จะต้องตรวจคัดกรองภาวะเครียดและซึมเศร้าควบคู่กับการรักษาโรคทางกายด้วยเช่นกัน ในขณะที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดน่านนั้นโรงพยาบาลนาน้อยได้จัดรูปแบบการให้บริการโดยจำแนกผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่รับไว้นอนในหอผู้ป่วยรวมโควิด-19  (Cohort ward) กลุ่มที่รับไว้นอนในโรงพยาบาลสนาม (Field hospital) กลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบ Home-Isolation และกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบ Self-Isolation วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้เข้ารับการรักษาตามระบบของโรงพยาบาลนาน้อยทั้ง 4 กลุ่ม และเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้านั้น วิธีวิจัย เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional-Analytic study) เก็บข้อมูลจากบันทึกแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ทางโทรศัพท์ที่ได้รับการรักษาในระบบบริการของโรงพยาบาลนาน้อย ระหว่างเดือน สิงหาคม พ.ศ.2564 - พฤษภาคม พ.ศ.2565 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โรคประจำตัว ประวัติการได้รับและจำนวนครั้งที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบประเมินภาวะเครียด (ST-5)  แบบคัดกรองความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) และแบบประเมินความรุนแรงโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติ non-parametric ในการวิเคราะห์เนื่องจากการกระจายของข้อมูลไม่เป็นแบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าด้วยสถิติ Chi-square ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ คือ คะแนนความเครียด (ST-5 score) และคะแนนความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า (9Q score) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอันดับ (Mean rank) ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่อิสระต่อกันด้วยสถิติ Mann-Whitney U test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มด้วยสถิติ Kruskal Wallis test ผลการศึกษา พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโควิด-19 ร้อยละ 9.9 โดยผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงพบมีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.004 ผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับ อนุปริญญา/ปวส. มีความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.01 และผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.02  ในด้านรูปแบบของการให้บริการรักษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยรวม (Cohort ward) มีความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่บ้าน ทั้งแบบ Home-Isolation และ Self-Isolation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.001 และ p-value=0.002 ตามลำดับ ในด้านภาวะเครียดพบความชุกของภาวะเครียดระดับปานกลางร้อยละ 17.0 ความชุกของภาวะเครียดมากร้อยละ 1.4 และความชุกของภาวะเครียดมากที่สุดร้อยละ 1.9 ตามลำดับ โดยปัจจัยด้าน เพศ การศึกษา ระดับรายได้ ประวัติการมีโรคร่วม ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตลอดจนรูปแบบที่ได้รับการบริการรักษาทั้ง 4 แบบ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้ป่วยแต่อย่างใด สรุป การระบาดของโรคโควิด-19 จะยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติต่อไป ข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโควิด-19 และให้การรักษาควบคู่ไปกับการรักษาทางกายทุกรายโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้ป่วยเพศหญิง และผู้ที่รับไว้เป็นคนไข้ในโรงพยาบาล นอกจากนี้การพิจารณาให้ผู้ป่วยรักษาตัวเองที่บ้านจะดีที่สุดแม้มีอาการหรือมีปัจจัยเสี่ยงโรคร่วมก็ตามเพราะพบว่าการรักษาตัวที่บ้านพบความชุกของภาวะซึมเศร้าและเครียดน้อยกว่า ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและมีระบบพร้อมรับส่งต่อหากมีอาการแย่ลง

       

 

References

Wikipedia. COVID-19 pandemic in Thailand [Internet]. 2023 [cited 2023 Apr 27]. Available from:

https://en.wikipedia.org/wiki/COVID-19_pandemic_in_Thailand

Sukjai Charoensuk, Kanyawee Mokekhaow, Duanphen Channarong, Chariya Sonpugdee. Mental health of people in state quarantine during COVID-19 situation in Thailand. Glob J Health Sci 2021;13(9):1-9.

Ren X, Huang W, Pan H, Huang T, Wang X, Ma Y. Mental health during the covid-19 outbreak in china: a meta-analysis. Psychiatr Q 2020;91(4):1033-45.

Chakrabarti S. Mental health in hospitalized COVID 19 patients in quarantine during second wave in a south Indian private teaching hospital. J Multidiscip Healthc 2021;14:2777-89.

Mario GM, Palladini M, Villa G, Agnoletto E, Harrington Y, Vai B, Benedetti F. Prevalence of depression in SARS-CoV-2 infected patients: an umbrella review of meta-analyses. Gen Hosp Psychiatry 2023;80: 17-25.

วรินทิพย์ สว่างศรี, นันทยุทธ หะสิตะเวช, ชลธิชา แย้มมา, ณัฐปพน รัตนตรัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(2):114-24.

ศุภวิชย์ บุญดีสกุลโชค, ศรัณย์ วีรเมธาชัย, ธนกมณ ลีศรี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโควิด 19 ณ โรงพยาบาลสนาม เครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. วารสารส่งเสริมสขุภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565;16(2):367-79.

Tiraya Lerthattasilp, Lampu Kosulwit, Muthita Phanasathit, Winitra Nuallaong, Pairath Tapanadechopone, Chommakorn Thanetnit, et al. Psychological impacts on patients with COVID-19 in a Thai field hospital. Arch Clin Psychiatry 2020;47(6):215-7.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(4):321-34.

Khademi M, Vaziri-Harami R, Shams J. Prevalence of mental health problems and its associated factors among recovered covid-19 patients during the pandemic: a single-center study. Front Psychiatry 2021;12:602244.

หัฎฐกร สำเร็จดี, รสมา สมไชย, ศศิธร ดวงมั่น, วชิราภรณ์ ฤาชา, พงศธร พหลภาคย์, นรักษ์ ชาติบัญชาชัย, และคณะ. ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้า ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2565;67(1):35-44.

Xiao X, Yang X, Zheng W, Wang B, Fu L, Luo D, et al. Depression, anxiety and post-traumatic growth among COVID-19 survivors six-month after discharge. Eur J Psychotraumatol 2022;13(1): 2055294.

Wu KK, Lee D, Sze AM, Ng VN, Cho VW, Cheng JP, et al. Posttraumatic stress, anxiety, and depression in COVID-19 survivors. East Asian Arch Psychiatry 2022;32(1):5-10.

Badinlou F, Lundgren T, Jansson-Frojmark M. Mental health outcomes following COVID-19 infection: impacts of post-COVID impairments and fatigue on depression, anxiety, and insomnia - a web survey in Sweden. BMC Psychiatry 2022;22(1):743.

Luna-Rodriguez GL, Pelaez-Hernandez V, Orea-Tejeda A, Ledesma-Ruiz CD, Casarin-Lopez F, Rosas-Trujillo A, et al. Prevalence of post-traumatic stress disorder, emotional impairments, and fear in COVID-19 surviving patients. Front Virtual Real 2022;3:927058.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-12

How to Cite

1.
มงคลคำ ว, ศุกลเศรษฐ์ อ. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะเครียดและซึมเศร้า ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาแบบรับไว้นอนในโรงพยาบาลและรักษาตัวที่บ้านในอำเภอนาน้อย จ.น่าน. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 12 พฤษภาคม 2023 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];13(1):146-64. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/261509

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ