การรับรู้ด้านความเจ็บป่วยของโรคมะเร็งเต้านมและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ นักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ นำการุณอรุณโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งเต้านม, การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การรับรู้ด้านความเจ็บป่วยของโรคมะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อต้องการศึกษาการรับรู้ด้านความเจ็บป่วยของโรคมะเร็งเต้านมและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มช่วงอายุที่เริ่มมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 397 คน (นักศึกษากลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 205 คน นักศึกษากลุ่มไม่ใช่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 192 คน) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565 เก็บข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยโรคมะเร็งเต้านม พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Independent t-test, Chi-square test, One Way ANOVA ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 25 ตรวจสม่ำเสมอทุกเดือนเพียงร้อยละ 4.5 นักศึกษามีการรับรู้ด้านความเจ็บป่วยของโรคมะเร็งเต้านมในระดับมากและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาหญิงมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อยและมีการรับรู้เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมมีค่าน้อยที่สุด สรุป: การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทำให้ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงและภาวะความเจ็บป่วยของโรคมะเร็งเต้านมเพื่อพัฒนาในการดูแลสุขภาพในอนาคตต่อไป

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2563.

Townsend CM, Beauchamp RD, Evers BM, Mattox KL. Sabiston textbook of surgery: the biological basis of modern surgical practice. 20th ed. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders; 2017.

American Cancer Society. Breast cancer facts and figures 2005-2006. Atlanta: American Cancer Society Inc; 2005.

Duffy SW, Vulkan D, Cuckle H, Parmar D, Sheikh S, Smith RA, et al. Effect of mammographic screening from age 40 years on breast cancer mortality (UK Age trial): final results of a randomised, controlled trial. Lancet Oncol 2020;21(9):1165-72.

Thaineua V, Ansusinha T, Auamkul N, Taneepanichskul S, Urairoekkun C, Jongvanich J, et al. Impact of regular breast self-examination on breast cancer size, stage, and mortality in Thailand. Breast J 2020;26(4):822–4.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ข้อเสนอแนะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2561.

ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร, จรินทร โคตพรม, รัตติยา ทองอ่อน, อรอุมา แก้วเกิด. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรี หมู่บ้านไทย - เวียดนาม จังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2562;1:84-91.

ปิยะนุช จิตตนูนท์, สุมาลี วังธนากร, วรรณี จันทร์สว่าง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในเทศบาลตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร.2552;2:153-65.

Broadbent E, Petrie KJ, Main J, Weinman J. The brief illness perception questionnaire. J Psychosom Res 2006;60(6):631-7.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์; 2544.

Akhtari-Zavare M, Latiff LA, Juni MH, Said SM, Ismail IZ. Knowledge of female undergraduate students on breast cancer and breast self-examination in Klang Valley, Malaysia. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16(15):6231-5.

Sarker R, Islam MS, Moonajilin MS, Rahman M, Gesesew HA, Ward PR. Knowledge of breast cancer and breast self-examination practices and its barriers among university female students in Bangladesh: findings from a cross-sectional study. PLoS One 2022;17(6):e0270417.

Nde FP, Assob JC, Kwenti TE, Njunda AL, Tainenbe TR. Knowledge, attitude and practice of breast self-examination among female undergraduate students in the University of Buea. BMC Res Notes 2015;8:43.

Ishtiak ASM, Ahmed N, Gaffar F, Khan MAS, Yasmeen F. Knowledge, practice and associated factors of breast self-examination among female university students of Bangladesh. Heliyon 2022;8(11):e11780.

El-Mohsen AS, El-Maksoud MM. Improve knowledge, beliefs and behavior of undergraduate female nursing students in Al-AlZhar University toward breast self-examination practice. Journal of Education and Practice 2015;6:102-10.

นวรัตน์ โกมลวิภาต, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. เปรียบเทียบ ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเองของนักศึกษาหญิงระหว่างกลุ่มที่ตรวจและไม่ตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(4):68-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31