ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลิดสิน

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ วงษ์สวรรค์ Department of Family Medicine, Lerdsin Hospital, Bangkok

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, การหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การหกล้มเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและนำมาซึ่งการบาดเจ็บ การพิการ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลิดสิน วิธีการ: วิจัยครั้งนี้แบบการวิจัยเชิงพรรณนาเชิงตัดขวาง โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 329 คนที่มีอายุ เท่ากับหรือมากกว่า 60 ปี จากผู้ป่วยทั้งหมด 21,475 ที่โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2565 – มิถุนายน 2565 การวิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ independent T-test นำไปวิเคราะห์ตัวแปรเดียว (univariate analysis) และตัวแปลพหุ (multivariate analysis) โดยใช้ Multiple Logistic Regression โดยมีผลต่อการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุเป็นตัวแปรต้น และ การหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุที่โรงพยาบาลเลิดสิน เป็นตัวแปรตาม ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยจำนวน 180 คน ( 54.7%) เป็นกลุ่มศึกษาโดยเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติหกล้มในหนึ่งปี และ 149 คน (41.5%) เป็นกลุ่มควบคุมโดยไม่มีประวัติหกล้ม ผู้ป่วยสูงอายุที่หกล้มจำนวน 41.3% มีสาเหตุมาจากพื้นลื่น และจำนวน 78.3% ของผู้ป่วยที่หกล้มจะมีเพียงแผลถลอกเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวไขมันในเลือดสูง (odds ratio = 2.022, 95%CI=1.143-3.575, p =0.016), โรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ (odds ratio = 2.596, 95%CI = 1.447-4.658, p =0.001) และการบริโภคยานอนหลับหรือยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (odds ratio = 4.565, 95%CI = 1.597-13.045, p = 0.005) พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุ สรุป: การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า ผู้ป่วยบริโภคยานอนหลับหรือยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ผู้ป่วยที่มีโรคไขมันในเลือดสูงและผู้ป่วยโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลิดสิน

References

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: WHO; 2007.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เปิดสถิติเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2564]. เข้าได้จาก: https://m.facebook.com/149774598395031/photos/a.519890064716814/2358652270840575/

Assantachai P, Praditsuwan R, Chatthanawaree W, Pisalsarakij D, Thamlikitkul V. Risk factors for falls in the Thai elderly in an urban community. J Med Assoc Thai 2003;86(2): 124-30.

Bergland A, Wyller TB. Risk factors for serious fall related injury in elderly women living at home. Inj Prev 2004;10(5):308-13.

กรมการแพทย์. ความสำคัญของการป้องกันภาวะหกล้มในผู้สูงอายุในโรงพยาบาล แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันภาวะหกล้มในผู้สูงอาย. นนทบุรี : กรมการแพทย์; 2551.

Tinetti ME, Williams CS. The effect of falls and fall injuries on functioning in community dwelling older persons. J Gerontol A Biol Sci Med Sci 1998;53(2):M112-9.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (Inspection Guideline) โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 5 สาขาหลัก [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย.2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/121917-1130-7115.pdf

Weir E, Culmer L. Fall prevention in the elderly population. CMAJ 2004;171(7):724.

Deandrea S, Bravi F, Turati F, Lucenteforte E, Vecchia CL, Negri E. Risk factors for falls in older people in nursing homes and hospitals. A systematic review and meta-analysis. Arch Gerontol Geriatric 2013;56(3):407–15.

Stevens JA, Sogolow ED. Gender differences for non-fatal unintentional fall related injuries among older adults. Inj Prev 2005;11(2):115-19.

Leipzig RM, Cumming RG, Tinetti ME. Drugs and falls in older people: A systemic review and meta-analysis: II. Cardiac and analgesic drugs. J Am Geriatr Soc 1999;47(1):40-50.

Baranzini F, Poloni N, Diurni M, Ceccon F, Colombo D, Colli C, et al. Polypharmacy and psychotropic drugs as risk factors for falls in long-term care setting for elderly patients in Lombardy. Recenti Prog Med 2009;100(2):9-16.

Hill KD, Wee R. Psychotropic drug-induced falls in older people: a review of interventions aimed at reducing the problem. Drug Aging 2012;29(1):15-30.

Kuhirunyaratn P, Prasomrak P, Jindawong B. Factors related to falls among community dwelling elderly. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2013;44(5):906-15.

Peduzzi P, Concato J, Kemper E, Holford TR, Feinstein AR. A simulation study of the number of events per variable in logistic regression analysis. J Clin Epidemiol 1996;49(12):1373-9.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระราชญาณสังวรเพื่อสูงอายุ กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี : กรมการแพทย์; 2562.

Pelt JV. Medication-related elder fall prevention. Social Work Today 2012;12(1):12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31