การสำรวจความเค็มในอาหารปรุงสุกจากโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ศิรินทร พิศุทธานันท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • พิชชานันท์ จาดเนือง ร้านบ้านยาจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • พงศกร ราชเพียแก้ว ร้านยาเวลเนสฟาร์มา จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค, อาหารปรุงสุก, โรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารปรุงสุกจากกลุ่มตัวอย่างอาหารที่มีจำหน่ายในสถานที่จำหน่ายอาหารภายในบริเวณคณะและโรงอาหารหลักของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างอาหาร 2 ครั้ง รวม 242 ตัวอย่าง ครั้งที่ 1 เก็บวันอังคาร และครั้งที่ 2 เก็บวันพฤหัสบดีในสัปดาห์เดียวกัน บันทึกข้อมูลลงแบบบันทึกรายการอาหาร การตรวจวัดความเค็มในอาหารด้วยเครื่อง Salinity meter รุ่น AZ8373 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัย: จัดแบ่งกลุ่มผลการตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหารหนึ่งหน่วยบริโภค โดยอาศัยเกณฑ์ปริมาณโซเดียมที่พบน้อยกว่า 1,000 มิลลิกรัม เป็นกลุ่มสีเขียว ปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัม เป็นกลุ่มสีเหลือง และปริมาณโซเดียมมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม เป็นกลุ่มสีแดง ได้ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว (ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ต้มยำ น้ำตก) 94 ตัวอย่าง จัดเป็นกลุ่มสีเขียว 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.1) [795±97.58 มิลลิกรัม] กลุ่มสีเหลือง 10 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.6) [1,732±269.69 มิลลิกรัม] กลุ่มสีแดง 82 ตัวอย่าง (ร้อยละ 87.2) [3,377±760.09 มิลลิกรัม] อาหารประเภทกับข้าวปรุงสุก (ต้มจืด ผัดผัก แกงกะทิ พะโล้) 124 ตัวอย่าง จัดเป็นกลุ่มสีเขียว 24 ตัวอย่าง (ร้อยละ 19.4) [705±173.31 มิลลิกรัม] กลุ่มสีเหลือง 66 ตัวอย่าง (ร้อยละ 53.2) [1,469±262.54 มิลลิกรัม] กลุ่มสีแดง 34 ตัวอย่าง (ร้อยละ 27.4) [2,562±581.28 มิลลิกรัม] อาหารประเภทยำ 16 ตัวอย่าง จัดเป็นกลุ่มสีเขียว 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 6.2) [988 มิลลิกรัม] กลุ่มสีเหลือง 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 43.8) [1,200±143.03 มิลลิกรัม] กลุ่มสีแดง 8 ตัวอย่าง (ร้อยละ 50) [2,742±781.12 มิลลิกรัม] อาหารประเภทสุกี้น้ำ 8 ตัวอย่าง จัดเป็นกลุ่มสีเหลือง 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 37.5) [1,449±270.01 มิลลิกรัม] กลุ่มสีแดง 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62.5) [2,548±225.08 มิลลิกรัม] สรุป: กลุ่มสีเหลืองและสีแดงคือตัวอย่างที่พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 1,000 ถึงมากกว่า 2,000 มิลลิกรัมในหนึ่งหน่วยบริโภค ร้อยละของจำนวนตัวอย่างที่ถูกจำแนกไว้ในกลุ่มสีเหลืองและสีแดงได้แก่ ทุกตัวอย่าง ร้อยละ 100 ของอาหารประเภทสุกี้น้ำ ร้อยละ 97.8 ของอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 93.8 ของอาหารประเภทยำ และร้อยละ 80.6 ของอาหารประเภทกับข้าวปรุงสุก การบริโภคอาหารปรุงสุกส่วนใหญ่จากโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรในปริมาณ 1 ถึง 2 หน่วยบริโภค ทำให้ได้รับโซเดียมสูงเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน

References

World Health Organization. Global target 4: a 30% relative reduction in mean population intake of salt/sodium. In: Mendis S, editor. Global Status Report on Noncommunicable Diseases 2014. Geneva: WHO Press; 2014. p.45-51.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559 ถึง 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ย. 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020.

แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ความจริงของโซเดียม ความจริงที่คุณและครอบครัวต้องรู้ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://fhpprogram.org/download/sodium/.

Adler AJ, Taylor F, Martin N, Gottlieb S, Taylor RS, Ebrahim S. Reduced dietary salt for the prevention of cardiovascular disease (Review). Cochrane Database Syst Rev 2014;12:1-13.

สิริมนต์ ชายเกตุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2559;7(1):103-14.

พัศมัย เอกก้านตรง, อุไรพร จิตต์แจ้ง, ประไพศรี ศิริจักรวาล, วันทนีย์ เกรียงสินยศ. ปริมาณโซเดียมในอาหารยอดนิยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561;24(2):6-17.

ปรัศนี ศรีกัน, สมศรี ทาทาน, วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล, ชลธิมา ปิ่นสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง และปริมาณโซเดียมในปัสสาวะของนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2561;34(3):21-33.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf.

Shin EK, Lee YK. Comparison of sodium content of workplace and homemade meals through chemical analysis and salinity measurements. Nutr Res Pract 2014;8(5):558-63.

วิชช์ เกษมทรัพย์, สุกฤตา พุ่มดวง. โครงการการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะเพื่อประเมินการบริโภคเกลือในคนและการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเกลือในประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.lowsaltthai.com/uploads/6234/files/Research/โครงการการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหาร.pdf

เนตรนภัส วัฒนสุชาติ. การศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี (street foods) ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lowsaltthai.com/uploads/6234/files/Research/โครงการการศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี%20(Street%20foods).pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31