การชดเชยวิตามินดีในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่พร่องวิตามินดีต่อการลดระดับพังผืดในตับ
คำสำคัญ:
โรคตับเรื้อรัง, ภาวะพร่องวิตามินดี, ระดับคะแนนพังผืดในตับบทคัดย่อ
ภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี เป็นปัญหาที่สำคัญและพบมากในประเทศไทย จากข้อมูลสำรวจสุขภาพประชากรไทยปี พ.ศ. 2561 พบอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ 45.2 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่ประชากรเขตภาคกลาง พบผู้ป่วยถึงร้อยละ 48.1 วิตามินดีสร้างจากผิวหนังและจากสารอาหารจำพวกนม อาศัยเอนไซม์จากเซลล์ตับเป็นตัวเปลี่ยนวิตามินให้ได้อยู่ในรูป 25-hydroxyvitamin D หรือ calcidiol ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินดีที่อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้งานในไต มีข้อมูลในต่างประเทศหลายการศึกษาที่พบว่าภาวะพร่องวิตามินดีส่งผลกับโรคตับมากมาย ทั้งโรคตับคั่งไขมัน ภาวะตับอักเสบ พังผืดในตับ ตับแข็ง และมะเร็งตับ แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการชดเชยวิตามินดีจะส่งผลเช่นไรกับผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้โดยทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาผลของการการชดเชยวิตามินดีในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่พร่องวิตามินดีต่อระดับคะแนนพังผืดในตับ
ศึกษาโดยรวบรวมผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังในช่วงปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564 ที่มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดีจำนวน 36 ราย ชดเชยโดยให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินดีเสริมในรูปแบบของวิตามินดี 2 (vitamin D2; Calciferol) ขนาด 20,000 IU ต่อ 1 เม็ด จำนวนสองเม็ดต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และทำการประเมินระดับคะแนนพังผืดในตับโดยใช้ aspartate aminotransferase (AST)-to-platelet ratio index (APRI), the AST/alanine aminotransferase (ALT) ratio ,the FIB-4 score ประเมินระดับความรุนแรงของตับโดยใช้คะแนน MELD score เปรียบเทียบก่อนและหลังการให้วิตามินดี รวมทั้งประเมินอัตราการเสียชีวิตทั้งที่เกี่ยวกับโรคตับและไม่เกี่ยวข้องรวมทั้งประเมินผลแทรกซ้อนจากโรคตับเรื้อรัง
จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังส่วนใหญ่ในงานวิจัยเกิดจากสาเหตุติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง มีระดับวิตามินดี เฉลี่ยอยู่ที่ 22.78 ± 4.64 นาโนกรัม/มิลลิลิตรมีระดับการอักเสบของตับจากการประเมินด้วยค่า AST , ALT พบว่าโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่สูงเล็กน้อย คือ AST เฉลี่ยอยู่ที่ 39.79 ± 20.82 U/L และ ALT เฉลี่ยอยู่ที่ 32.62 ± 21.98 U/L เมื่อคำนวณค่าพังผืดในตับด้วยวิธี APRI, AST/ALT ratio , FIB-4 score และประเมินระดับคะแนนความรุนแรงของตับ ด้วยวิธี MELD score พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่มี หรือมีพังผืดในตับเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งจากการคำนวณอยู่ 11 ราย (ร้อยละ 31.43) เมื่อได้รับการชดเชยวิตามินดีจนมีระดับปกติ พบว่าระดับคะแนนที่บ่งชี้ถึงภาวะพังผืดในตับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับก่อนการชดเชยด้วยวิตามินดี โดยค่า APRI มีค่าเฉลี่ย 0.91 ± 1.21 (เพิ่มขึ้น 0.15 ± 0.97 ; P-value =0.361 ) , ค่า AST/ALT ratio มีค่าเฉลี่ย 1.41 ± 0.69 (เพิ่มขึ้น 0.6 ± 0.38; P-value =0.355 ) ค่า FIB-4 score มีค่าเฉลี่ย 3.25 ± 4.30 (เพิ่มขึ้น 0.51 ± 3.08; P-value = 0.340 ) และระดับ MELD score มีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนอยู่ที่ 7.30 ± 1.64 (ลดลง 0.27 ± 1.41 ; P-value =0.268) และเมื่อแยกศึกษาเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง พบว่า ระดับคะแนน APRI , AST/ALT ratio , และ FIB-4 score ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเทียบกับก่อนชดเชยด้วยวิตามินดี แม้ว่าอาจจะพบว่า ระดับคะแนน MELD score มีแนวโน้มลดลง แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจากการศึกษานี้ในผู้ป่วยทุกรายไม่พบผลแทรกซ้อนที่เกินจากภาวะโรคตับเรื้อรัง เช่นภาวะความดันหลอดเลือดพอร์ทัลสูง ภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดดำโป่งพองในหลอดอาหาร ภาวะท้องมาน ภาวะตับแข็ง และภาวะไตวาย รวมถึงไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับวิตามินดีชดเชย
โดยสรุปการชดเชยวิตามินดีในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแง่ลดการอักเสบของตับหรือการเปลี่ยนแปลงระดับคะแนนพังผืดในตับ
References
MacLaughlin JA, Anderson RR, Holick MF. Spectral character of sunlight modulates photosynthesis of previtamin D3 and its photoisomers in human skin. Science 1982;216(4549):1001-3.
Norman AW. Receptors for 1alpha, 25(OH)2D3: past, present, and future. J Bone Miner Res 1998;13(9):1360-9.
Holick MF. Vitamin D deficiency. N Engl J Med 2007;357(3):266-81.
Chailurkit LO, Aekplakorn W, Ongphiphadhanakul B. Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC public health 2011;11:853.
Arteh J, Narra S, Nair S. Prevalence of vitamin D deficiency in chronic liver disease. Dig Dis Sci 2010;55(9):2624-8.
Liangpunsakul S, Chalasani N. Serum vitamin D concentrations and unexplained elevation in ALT among US adults. Dig Dis Sci 2011;56(7):2124-9.
Targher G, Bertolini L, Scala L, Cigolini M, Zenari L, Falezza G, et al. Associations between serum 25-hydroxyvitamin D3 concentrations and liver histology in patients with non-alcoholic fatty liver disease. Nutr Metab Cardiovasc 2007;17(7):517-24.
Gascon-Barre M, Demers C, Mirshahi A, Neron S, Zalzal S, Nanci A. The normal liver harbors the vitamin D nuclear receptor in nonparenchymal and biliary epithelial cells. Hepatology 2003;37(5):1034-42.
Li Q, Gao Y, Jia Z, Mishra L, Guo K, Li Z, et al. Dysregulated Kruppel-like factor 4 and vitamin D receptor signaling contribute to progression of hepatocellular carcinoma. Gastroenterology 2012;143(3):799-810.e2.
Potter JJ, Liu X, Koteish A, Mezey E. 1,25-dihydroxyvitamin D3 and its nuclear receptor repress human alpha1 (I) collagen expression and type I collagen formation. Liver Int 2013;33(5):677-86.
Beilfuss A, Sowa JP, Sydor S, Beste M, Bechmann LP, Schlattjan M, et al. Vitamin D counteracts fibrogenic TGF-beta signalling in human hepatic stellate cells both receptor-dependently and independently. Gut 2015;64(5):791-9.
สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเกี่ยวกับภาวะขาดวิตามินดีในคนไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย; 2560.
Iruzubieta P, Terán Á, Crespo J, Fábrega E. Vitamin D deficiency in chronic liver disease. World J Hepatol 2014;6(12):901-15.
Barchetta I, Del Ben M, Angelico F, Di Martino M, Fraioli A, La Torre G, et al. No effects of oral vitamin D supplementation on non-alcoholic fatty liver disease in patients with type 2 diabetes: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. BMC Med 2016;14:92.
Lorvand Amiri H, Agah S, Tolouei Azar J, Hosseini S, Shidfar F, Mousavi SN. Effect of daily calcitriol supplementation with and without calcium on disease regression in non-alcoholic fatty liver patients following an energy-restricted diet: Randomized, controlled, double-blind trial. Clin Nutr 2017;36(6):1490-7.
Boonyagard S, Techathuvanan K. Impact of vitamin D replacement on liver enzymes in non-alcoholic fatty liver disease patients : a randomized, Double-blind, placebo-controlled trial. J Med Assoc Thai 2020;103(12):105-12.
Bikle DD, Halloran BP, Gee E, Ryzen E, Haddad JG. Free 25-hydroxyvitamin D levels are normal in subjects with liver disease and reduced total 25-hydroxyvitamin D levels. J Clin Invest 1986;78(3):748-52.
Hoan NX, Khuyen N, Binh MT, Giang DP, Van Tong H, Hoan PQ, et al. Association of vitamin D deficiency with hepatitis B virus - related liver diseases. BMC Infect Dis 2016;16(1):507.
Abramovitch S, Sharvit E, Weisman Y, Bentov A, Brazowski E, Cohen G, et al. Vitamin D inhibits development of liver fibrosis in an animal model but cannot ameliorate established cirrhosis. Am J Physiol Gastrointest Liver Physiol 2015;308(2):G112-20.
Holick MF, Binkley NC, Bischoff-Ferrari HA, Gordon CM, Hanley DA, Heaney RP, et al. Evaluation, treatment, and prevention of vitamin D deficiency: an Endocrine Society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2011;96(7):1911-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง