การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6–12 เดือน ในโรงพยาบาลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • พจนีย์ วัชรกานนท์ โรงพยาบาลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, โปรแกรม, เด็กอายุ 6–12 เดือน

บทคัดย่อ

    เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ แต่ปัจจุบันพัฒนาการและระดับเชาว์ปัญญาของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ตลอดจนปัญหา–อุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6–12 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลพรานกระต่าย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ศึกษาข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนและแบบสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) สถิติทดสอบ Chi-square และ Odds ratio สถิติเปรียบเทียบ Paired–samples T test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญไว้ที่ 0.05 และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 248 คน เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54.8) อายุเฉลี่ย 8.72 เดือน พบอัตราความชุกโลหิตจาง (Hb<11 g/dL) ร้อยละ 35.9 กลุ่มผู้เลี้ยงดูหลักส่วนใหญ่เป็นบิดาหรือมารดา อายุ 30–59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อาชีพเกษตรกรรม รายได้ของครอบครัว 10,001–30,000 บาท/เดือน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ 6–8 เดือน (OR = 2.398; p = 0.001) น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม (OR = 4.058; p<0.001) รับประทานนมมารดาและนมผสม (OR = 26.527; p<0.001) น้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (OR = 1.854; p = 0.021) ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน (OR = 2.733; p<0.001) มีโรคประจำตัว/โรคร่วม (OR = 4.335; p<0.001) มี MCV<80 fl (OR = 1.434; p = 0.024) เม็ดเลือดติดสีจางและมีขนาดเล็ก (OR = 2.041; p = 0.016) ผู้เลี้ยงดูหลักเรียนจบชั้นประถมศึกษา (OR = 3.082; p = 0.001) และครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน (OR = 3.082; p<0.001) หลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่าเด็กมี Hb>11g/dL (ร้อยละ 94.4) และยังพบว่าผลการตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ (CBC) หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัญหา–อุปสรรคในการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) การรับประทานยาไม่ได้ตามคำแนะนำของแพทย์ 2) การรับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อและครบหมู่ 3) การเข้าร่วมโปรแกรมไม่ครบกำหนด ต้องย้ายติดตามครอบครัวเนื่องจากมีฐานะยากจน จากข้อค้นพบข้างต้นจะเห็นได้ว่าภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก จึงจำเป็นต้องนำโปรแกรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมาปรับใช้ และควรทำการศึกษาติดตามเด็กกลุ่มนี้เพื่อทำให้ทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดภาวะโลหิตจางได้ในที่สุด

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ประภาภรณ์ จังพาณิช, อาริสรา ทองเหม, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติการคลินิกสุขภาพเด็กดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สุจิตรา บางสมบุญ, ชัยวัฒน์ อภิวันทนา, พรทิพย์ รักคำมี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 6 เดือนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2561;19(1):40-8.

อรัญญา ปีกเกษม. ความชุกของภาวะขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 6 เดือนที่เลี้ยงด้วยนมแม่. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค.2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/html/slidedetail2_news.php?journal_id=176.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค สำหรับปีงบประมาณ 2559 ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : ร่างมาตรฐานการทำงาน การป้องกันโลหิตจางในเด็ก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/QS-animia.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สำนักโภชนาการกรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

วีณา มงคลพร. สถานการณ์และผลการรักษาภาวะโลหิตจางในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา 2556;7(15):18–35.

ศรัชฌา กาญจนสิงห์. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กทารก...อันตรายจริงหรือ ?[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://srushcat.files.wordpress.com/2015/07/anemia.pdf.

อรรถสิทธิ์ แดงมณี. ความสัมพันธ์ของภาวะซีดในทารกกับการกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน. กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32:821–30.

นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6–12 เดือนโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารอุบลเวชสาร 2561;1:10–20.

จตุพร ดวงเพชรแสง. ภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6–12 เดือนที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลแก้งคร้อ. ชัยภูมิเวชสาร 2560;37(2):30-9.

ยอดขวัญ อภิกุลชาติกิจ. ความชุกของภาวะโลหิตจางและประสิทธิผลของการป้องกันโลหิตจางในทารกอายุ 9–12 เดือน ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2563;12(1):161-70.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia). [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-13

How to Cite

1.
วัชรกานนท์ พ. การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6–12 เดือน ในโรงพยาบาลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 13 กันยายน 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];12(2):285-302. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/256102