การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้แต่ง

  • รินนิภา สวนสุข กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • เยาวภา เพียรพานิช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • สาวิตรี รนที กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการพยาบาล, หลักฐานเชิงประจักษ์, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

การออกแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 35 คน 2) ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 70 คน 3) ทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 16 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบบันทึกทบทวนเวชระเบียน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้พยาบาล แบบประเมินทักษะของพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบคู่

ผลการวิจัย: 1. รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วย 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 3) กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองวินิจฉัย แนวทางการดูแลรักษา 4) การทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาล พบว่า หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลวิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.001 2) ทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มขึ้นจากระดับดีเป็นดีมาก 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด ผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ คือ อัตราการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและเข้าสู่การรักษาก่อนเกิดภาวะช็อกเร็วขึ้น ภาวะช็อกจากการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตลดลงข้อเสนอแนะ: ควรมีการขยายผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป เพื่อทำให้ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้น

References

Petchborom P. Sepsis: from evidence moving towards technologies. In: Sataworn D, Piyavejwirat K, Punyathaworn S, editors. The Best ICU. Bangkok: Thai Association of Critical Care Medicine; 2017. P. 231-40. (in Thai)

Bentley J, Henderson S, Thakore S. Donald M, Wang W. Seeking sepsis in the emergency department-identifying barriers to delivery of the sepsis 6. BMJ Qual Improv Rep 2016;5(1):1-6.

Levy MM, Evans LE, Rhodes A. The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive Care Med 2018;44(6):925–8.

Epstein L, Dantes R, Magill S, Fiore A. Varying estimates of sepsis mortality using death certificates and administrative codes-United States, 1999-2014. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:342-5.

Mc Clelland H, Moxon A. Early identification and treatment of sepsis. Nurs Times 2014;110(4):14-7.

Spiegel R, Farkas JD, Rola P, Kenny JE, Olusanya S, Marik PE, et al. The 2018 surviving sepsis campaign's treatment bundle: when guidelines outpace the evidence supporting their use. Ann Emerg Med 2019;73(4):356-58.

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center. Antibiotic-resistant bacteria[Internet]. [cited 2017 Jan 12]. Available from:http://narst.dmsc.moph.go.th/news001.html

Wirotwanit N. The effectiveness of implementing the nurse practice guideline among patients with sepsis at emergency department, Naresuan University Hospital. Journal of Nursing and Health Sciences 2561;12(1):84-93. (in Thai)

Levy MM, Dellinger RP, Townsend SR, Linde-Zwirble WT, Marshall JC, Bion J, et al. The surviving sepsis campaign: results of an international guideline-based performance improvement program targeting severe sepsis. Crit Care Med 2010; 38(2): 367-74.

McColl T, Gatien M, Calder L, Yadav K, Tam R, Ong M, et al. Implementation of an emergencydepartment sepsis bundle and system redesign: a process improvement initiative. Can J Emerg Med 2017;19(2):112-21.

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.

Wongkhan K. Innovative research model (R&D, D&D, AR, R2R) Training program create a new generation of researchers (5th generation) [Internet]. 2017 [cited 2018 Jan 12]. Available from:fromkitt w_2000@yahoo.ie.

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 3rd ed. Bangkok: You and I Inter Media; 2007.

Rodjinda S, Puttapitukpol S, Phuangkhem W. Development of caring model for sepsis patients in the medical wards, Nan Hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2020;30(1):120-34. (in Thai)

Thumneumoin S. Development of nursing care for sepsis patients, The office of disease prevention and control 2018;16(2):58-68. (in Thai)

Rungthanakiat P, Promtuang S, Paengbuddee Ch. Development of the Care Model for Patients with Septicemia using Fast Track System at Surin Hospital. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2019; 6(1):36-51. (in Thai)

Noparith P, Traiyawong S, Koteprom J. A development of nursing care model for sepsis patients in Mukdahan Hospital. Journal of Nursing and Health Care 2019; 37(1):221-30. (in Thai)

Waranung T. Outcomes of using the clinical practice guideline for patients with sepsis at Fang hospital, Chiangmai Province. Chiangrai Medical Journal 2019;11(1):1-8. (in Thai)

Mahantassanapong Ch. Outcome of the Surin Sepsis Treatment Protocol in Sepsis Management. Srinagarind Medical Journal 2012;27(4) :332-9. (in Thai)

Amphon K, Bunyoprakarn C, Sinkincharoen P. The Outcomes of the Development of the Patients with Septicemia, Prapokklao Hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2017;34(3):222-6. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-18