ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
คำสำคัญ:
การเสียชีวิตของทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยงด้านมารดา, ปัจจัยเสี่ยงด้านทารกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านมารดาและด้านทารกที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ28วัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ทารกแรกเกิดมีชีพที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 168 ราย เสียชีวิตจำนวน 56 ราย (ร้อยละ 33.3) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆด้วยวิธี Chi-square, Fisher’s exact และ Mann-Whitney U-test โดยใช้ค่า p-value ที่<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วย Multivariate logistic regression analysis ผลการศึกษา ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน ด้านมารดาได้แก่ คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์<28 สัปดาห์ และอายุครรภ์ 28 - 32 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด และภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ (AOR=.005, .018, 2.244 และ 5.481)ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงด้านทารกได้แก่ Apgar score นาทีที่1<7 คะแนน อุณหภูมิแรกคลอด<36.5°C ภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด (AOR=82.614, 26.426, 7.253 และ 55.644) ข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการพัฒนาระบบการดูแลส่งต่อมารดาและทารกกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดอัตราทารกแรกเกิดเสียชีวิต
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ย.2564]. เข้าถึงได้จาก:https://sdgs.nesdc.go.th
World Health Organization. The global health observatory explore a world of health data [Internet]. 2021 [cited 2021 Sep 14]. Available from: https://www.who.int/data/ gho/data/indicators/ indicator-details/GHO/neonatal-mortality-rate-(per-1000-live-births)
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. รายงานประจำปี 2563. ลพบุรี: โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช; 2564.
Yaya Y, Eide KT, Norheim OF, Lindtjørn B. Maternal and neonatal mortality in south-west ethiopia: estimates and socio-economic inequality. PLoS One 2014;9(4):e96294.
ปณิธาน ชูเชิด. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5 2564;40(4):529-38.
Ananth CV, Goldenberg RL, Friedman AM, Vintzileos AM. Association of temporal changes in gestational age with perinatal mortality in the United States, 2007-2015. JAMA Pediatr 2018;172(7):627-34.
จุฑาทิพย์ อุดมทรัพย์. แนวโน้มการเสียชีวิตทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2555-2562. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(4):416-24.
Veloso FCS, Kassar LML, Oliveira MJC, Lima THB, BuenoNB, Gurgel RQ, et al. Analysis of neonatal mortality risk factors in Brazil: a systematic review and meta-analysis of observational studies. J Pediatr (Rio J) 2019; 95(5):519-30.
Castro EC de, Leite ÁJ, Guinsburg R. Mortality in the first 24h of very low birth weight preterm infants in the Northeast of Brazil. Rev Paul Pediatr 2016;34(1):106-13.
กรรณิการ์ บูรณวนิช, กฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดในคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2020;64(1):11-22.
Ogunlesi TA, Ogunfowora OB, Adekanmbi FA, Fetuga BM, Olanrewaju DM. Point-of admission hypothermia among high-risk Nigerian newborns. BMC Pediatr 2008;8:1471-31. doi:10.1186/1471-2431-8
Richter LL, Ting J, Muraca GM, Synnes A, Lim KI, Lisonkova S. Temporal trends in neonatal mortality and morbidity following spontaneous and clinician-initiated preterm birth in Washington State, USA: a population-based study. BMJ Open 2019;9(1):e023004. doi: 10.1136/bmjopen-2018-023004.
นพวรรณ พงศ์โสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31(1 ):49-59.
Lakshminrusimha S, Mathew B, Leach CL. Pharmacologic strategies in neonatal pulmonary hypertension other than nitric oxide. Semin Perinatol 2016;40(3):160-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง