ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลบางปะอิน

ผู้แต่ง

  • ธำรงค์ สง่าแสง โรงพยาบาลหนองแซง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3, การชะลอไตเสื่อม, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

   ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งเกิดจากการสูญเสียหน้าที่ของไต และยังเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อีกทั้งยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต คลินิกชะลอไตเสื่อมจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในคลินิกชะลอไตเสื่อมระหว่างกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 คัดเลือกตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 150 คน เข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แผนการสอนโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีดัชนีความตรงของเนื้อหา 0.97 แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 นำเสนอข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการวิจัยด้วยสถิติ Paired Samples Test และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test for independent sample พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอัตราการกรองไตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเสื่อมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเสื่อมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จึงควรนำโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 ไปศึกษาต่อและปรับใช้ในงานคลินิกชะลอไตเสื่อม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด และสามารถชะลอความเสื่อมของไตไม่ให้มีการดำเนินของโรคสู่ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

References

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, 2560.
2. World kidney day. Kidney Health for Everyone Everywhere [Internet]. 2019 [cited 2020 Jan 22]. Available from https://www.worldkidneyday.org/2019-campaign/2019-wkd-theme/
3. Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O’Callaghan CA, Lasserson DS, et al. Global prevalence of chronic kidney disease - a systematic review and meta-analysis. PLOS ONE 2016;11: 1-18.
4. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population:Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation 2010; 25:1567-5.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 18 ม.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayo.moph.go.th/main/index.php
6. โรงพยาบาลบางปะอิน คลินิกชะลอไตเสื่อม (CKD). รายงานสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกชะลอไตเสื่อม (CKD) โรงพยาบาลบางปะอิน ปี พ.ศ. 2559-2561. พระนครศรีอยุธยา: โรงพยาบาลบางปะอิน; 2562.
7. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559.
8. Fisher WA, Fisher JD, Harman, J. The information-motivation-behavioral skills model: A general social psychological approach to understanding and promoting health behavior. Malden: Blackwell; 2003. p.82-106.
9. บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาสน์; 2535.
10. Gavgani RM, Poursharifi H, Aliasgrazadeh A. Effectiveness of information-motivation-bihavioral skills (IMB) Model in improving self-care behaviors & HBA1C measure in adults with type2 diabetes in Iran-Tabriz. Procedia-Social and Behavioral Sciences 2010;5:1868-73.
11. กิตฑาพร ลือลาภ. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลการสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
12. Osborn CY, Mamico KR, Cruz Noemi, O’Connell AA, Perez-Escamilla R, Kalichman SC, et al. A brief culturally tailored intervention for Puerto Ricans with type2 diabetes. Health Educ Behav 2010;37(6):849-62.
13. Zarani F, Besharat MA, Sarami G, Sadeghian S. An information-motivation-behavioral skill (IMB) model-based intervention for CABG patients. Int J Behav Med 2012;19:543-9. doi:10.1007/s12529-011-9193-2
14. ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.
15. ปริยากร วังศรี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการควบคุมภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-13