ประสิทธิผลการพัฒนาโปรแกรมสุขภาพลดเค็มต่อการชะลอภาวะไตเสื่อมในอำเภอบางระกำ

ผู้แต่ง

  • เจษฎา บุญญานุภาพพงศ์ โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
  • รัชยา พรมภักดี โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, โปรแกรมสุขภาพลดเค็ม, ภาวะไตเสื่อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุมแบบวัดผลก่อนหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพการรับประทานอาหารรสเค็ม ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ อัตราการกรองของไต  ระดับความดันโลหิต ระดับค่าโปรตีนในปัสสาวะ และปริมาณความเค็มในอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพลดเค็มร่วมกับการรักษาปกติ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการรักษาแบบปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามวัดระดับความรู้และพฤติกรรม เครื่องวัดระดับความเค็มในอาหารชนิด PPM/TDS ดำเนินการทดลอง 25 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ และทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสเค็มและความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิกภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีระดับการกรองของไตเพิ่มมากขึ้น ระดับโปรตีนในปัสสาวะลดลง ค่าเฉลี่ยระดับความเค็มของอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  การวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขภาพลดเค็มช่วยเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ รวมถึงเสริมสร้างพฤติกรรมการรับประทานอาหารลดเค็มได้อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะยาวต่อไป

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2555.

คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://doh.hpc.go.th/data/HL/CKD_2015.pdf

Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O’Callaghan CA, Lasserson DS, et al. Global prevalence of chronic kidney disease – A Systematic review and meta-analysis. PLoS One 2016; 11(7): e0158765

Kerr M, Bray B, Medcalf J, O'Donoghue D, Matthews B. Estimating the financial cost of chronic kidney disease to the NHS in England. Nephrol Dial Transplant 2012;27(suppl 3):iii73-iii80.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 40:5-18.

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25:1567-75.

ศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณ. ลดโซเดียม....สร้างสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก http://data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn62/index_doc.php?docgroup=03

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007; 39:175-91.

นิฤมล สบายสุข, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, ณิชกานต์ ทรงไทย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561; 21:137-50.

วิชช์ เกษมทรัพย์, สุกฤตา พุ่มดวง. โครงการการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะ เพื่อประเมินการบริโภคเกลือในคนและการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเกลือในประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lowsaltthai.com/uploads/6234/files/Research/โครงการการทดสอบความแม่นยำของเครื่องตรวจปริมาณเกลือในตัวอย่างอาหาร.pdf

Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. 4th ed. New York: Harper & Row; 1984.

เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วย โรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31:130-45.

Jin HH, Ho JC, Sejoong K, Dong KK, Suhnggwon K, Jung HP, et al. Effects of intensive low-salt diet education on albuminuria among non-diabetic patients with hypertension treated with olmesartan: A Single-blinded randomized, controlled trial. Clin J Am Soc Nephrol [Internet]. 2014 [cited 2020 Dec 4];9:2059–69. Available from: https://cjasn.asnjournals.org/content/9/12/2059.long

พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. โปรแกรมควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559;6:205-15.

He F, Li J, Macgregor GA. Effect of longer term modest salt reduction on blood pressure: Cochrane systematic review and meta-analysis of randomized trials. BMJ [Internet]. 2013 [cited 2020 Dec 4];346: f1325. Available from: https://www.bmj.com/content/346/bmj.f1325.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-14

How to Cite

1.
บุญญานุภาพพงศ์ เ, พรมภักดี ร. ประสิทธิผลการพัฒนาโปรแกรมสุขภาพลดเค็มต่อการชะลอภาวะไตเสื่อมในอำเภอบางระกำ. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 14 พฤษภาคม 2021 [อ้างถึง 16 เมษายน 2025];11(1):77-91. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/246448