เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง ของโรงพยาบาลศูนย์สระบุรี โดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

ผู้แต่ง

  • วิชญ์พล พิทักษ์สินพานิชย์ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, คุณภาพชีวิต, ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง (Diabetes self-management education and support) ของโรงพยาบาลศูนย์สระบุรีเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรีและไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็น การศึกษา เชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 206 คน โดยนำมาจากผู้ที่มาต่อที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสระบุรี และได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกไปสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเองอย่างน้อย 3 เดือน และกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน Audit of Diabetes Dependent Quality of Life 19 (ADDQoL19) และแบบสอบถามเกี่ยวความพึงพอใจต่อการรักษาโรคเบาหวานของผู้ป่วย Diabetes Treatment Satisfaction Questionnaire (DTSQ) ผลการศึกพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจรักษาเบาหวานที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี ที่เข้าร่วมหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง (Diabetes Self-Management Education and Support; DSME/S) มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมย้อนหลังดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยและค่ากลางของคุณภาพชีวิตโดยรวมดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบว่าความพึงพอใจจากการรักษาโดยรวมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม (p<0.001) ดังนั้นแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้กับผู้ป่วยเบาหวานและเสริมสร้างทักษะการดูแลโรคเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับการรักษาเบาหวานทั่วไปเพื่อให้ผู้ป่วยมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจต่อการรักษาโรคเบาหวานที่เป็นอยู่และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตของผู้ป่วย

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สถานการณ์โรคเบาหวาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค.2562]: เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg/810-diabetes-care-2019
3. Brunisholz KD, Briot P, Hamilton S, Joy EA, Lomax M, Barton N, et al. Diabetes self-management education improves quality of care and clinical outcomes determined by a diabetes bundle measure. J Multidiscip Healthc 2014;7:533-42.
4. Cochran J, Conn VS. Meta-analysis of quality of life outcomes following diabetes self-management training. Diabetes Educ 2008; 34:815-23.
5. Hwee W. Health-related quality of life in people with diabetes mellitus perspective from a multi-ethnic asian population [In PhD Thesis] Singapore: National University of Singapore; 2006
6. Bradley C, Todd C, Gorton T, Symonds E, Martin A, Plowright R. The development of an individualized questionnaire measure of perceived impact of diabetes on quality of life: The ADDQoL. Qual Life Res 1999;8(1-2):79-91.
7. Bradley C. Diabetes treatment satisfaction questionnaire (DTSQ). In Handbook of psychology and diabetes: A guide to psychological measurement in diabetes research and practice, Bradley C, editors. NY: Harwood Academic Publishers; 1994. p.111-2.
8. Stone DB. A study of the incidence and course of poor control in patient with diabetes mellitus. Am J Med Sci 1961;24:436-44.
9. Rusdiana, Savira M, Amelia R. The effect of diabetes self-management education on Hba1c level and fasting blood sugar in type 2 diabetes mellitus patients in primary health care in binjai city of north Sumatera, Indonesia. Open Access Maced J Med Sci 2018;6:715-8.
10. Cunningham AT, Crittendon DR, White N, Mills GD, Diaz V, Lanoue MD. The effect of diabetes self-management education on HbA1c and quality of life in African-Americans: A systematic review and meta-analysis. BMC Health Serv Res2018;18(1):367. doi: 10.1186/s12913-018-3186-7
11. Jahromi MK, Ramezanli S, Taheri L. Effectiveness of diabetes self-management education on quality of life in diabetic elderly females. Glob J Health Sci 2015;7:10-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-10