การพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • จินตนา บุญพร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ วว.สาขารังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง, วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

     วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี การดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การจัดการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระยะที่ 3 ทดลองและปรับปรุงรูปแบบฯ ระยะที่ 4 ประเมินผลรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวนผู้ป่วย 369 คน กลุ่มที่ 2 ในช่วงวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบางระจันและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอบางระจัน แห่งละ 1 คน รวม 8 คน เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ค่าความเที่ยง .80 .75 และ .78 ตามลำดับและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (focus group) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสกัดประเด็นสำคัญ จัดกลุ่มข้อมูลและหาความเชื่อมโยงของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า

  1. ภาพรวมการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับมาก และการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงชองอำเภอบางระจันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการจัดการดูแล 2) กระบวนการจัดการตนเองของผู้ป่วย 3) นวัตกรรมที่ใช้ในการกำกับตนเองของผู้ป่วย
  2. รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง คือ 1) การลดความแออัดในโรงพยาบาลสู่การดูดูแลใกล้บ้านใกล้ใจ 2) เกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้องเป็นผู้ป่วยมีความเสี่ยงระดับต่ำ 3) การดูแลผู้ป่วยด้วยการจัดการตนเอง (self-management) 4) การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
  3. การประเมินผลจากการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพในการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยพบว่ามีความพึงพอใจด้านแนวทางการดูแล และผู้รับบริการมีความพึงพอใจได้รับการดูแลใกล้ชิด ประหยัดค่าใช้จ่าย ยังพบว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 87.50 และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 100

References

1. World Health Organization (WHO). A global brief on hypertension Silent killer, global
public health crisis. [Internet]. 2013 [cited 2018 Sep 25]. [Available from: http://www.who.int/cardiovascular_diseases/publications/global_brief_hypertension/en/
2. นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้. วารสารการพยาบาล2560; 44:141-58.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. สรุปรายงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สิงห์บุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2560.
4. นันทพร บุษราคัมวดี, ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. การพยาบาลและการศึกษา 2555;44:114-29.
5. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ: วี อินเตอร์ พรินท์; 2551.
6. ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, เยาวดี สุวรรณนาคะ, อรุณี ไชยฤทธิ์, บุญสืบ โสโสม, สราวุฒิ สีถาน, มยุรี สร้อยศรีสวัสดิ์, และคณะ. การจัดการตนเอง การรับรู้อาการเตือน โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการจัดการภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) จังหวัดสระบุรี. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.
7. ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง; 2554.
8. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2560.
9. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 28 ม.ค.2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/
10. Cree LT. Self-management of chronic illness. In: Boekaerts M, Printrich PR, Zeidner M, editor. Handbook of self-regulation.California: academic 2000; 601-29.
11. สมใจ วินิจกุล. อนามัยชุมชนกระบวนการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหา. กรุงเทพฯ: พินนีพับลิชชิ่ง; 2550.
12. คมสรรค์ ชื่นรัมย์, บุญสิทธ์ ไชยชนะ, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของโรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC). วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:179-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-10

How to Cite

1.
บุญพร จ. การพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี . JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 10 กันยายน 2020 [อ้างถึง 16 เมษายน 2025];10(2):322-40. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/245004