ผลของการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ความพึงพอใจในการบริการ ของผู้ป่วยเบาหวาน และความพึงพอใจในงานของพยาบาล
คำสำคัญ:
การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์, ระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ, ความพึงพอใจ ในบริการผู้ป่วยเบาหวาน, ความพึงพอใจในงานของพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ 2) ความพึงพอใจในการบริการของผู้ป่วยเบาหวาน และ 3) ความพึงพอใจในงานของพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 70 คน ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่คลินิกเบาหวานงานผู้ป่วยนอก โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับบริการตามปกติในคลินิกเบาหวาน จำนวน 35 คน กลุ่มทดลอง คือผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ จำนวน 35 คน และกลุ่มพยาบาล คือพยาบาลวิชาชีพในคลินิกเบาหวาน แผนกอายุรกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล เครื่องมือทั้ง 3 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล เท่ากับ 0.75 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Independent t-test และ dependent t-test ที่ระดับ .05 พบว่าระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (=7.87 และ 8.15 ตามลำดับ) ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีการวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการทางพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (
=4.21 และ 3.81 ตามลำดับ) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลหลังจากการใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์สูงกว่าก่อนการใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (
=4.33 และ 4.09 ตามลำดับ)
References
2. รุจา ภู่ไพบูลย์. การดูแลสุขภาพที่บ้าน: แนวคิดพื้นฐานสำหรับอนาคต. ใน: การประชุมวิชาการสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งที่ 9 เรื่อง ครอบครัวในยุคโลกาภิวัตน์ต่อบทบาทพยาบาลที่ก้าวไกล”. 2547. (หน้า 52-9).
3. ทัศนา บุญทอง. ปฏิรูประบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์. 2551.
4. ประภัสศรี ชาวงษ์. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่รับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551.
5. Evan C. Postpartum home care in United States. JOGNN 1995:24(2):180-6.
6. McBride, C.M. & Reimer, B.K. Using the telephone to improve health behavior and health service delivery. Patient Education and Counseling 1999:37:3-18.
7. Shu, E., Mermina, Z., & Nystrom, K. Telephone reassurance program for elderly home care: Clients after discharge. Home Healthcare Nurse 1996:14(3):155-16.
8. Stricklin, M. L. V., Jones, S., & Niles, S. A.Home talk/healthy talk: Improving patients health status with telephone technology. Home Healthcare Nurse 2000:18(1):53-61.
9. สมศักดิ์ สินเสถียรพร. ประสิทธิผลการสอนอย่างมีแบบแผนต่อการดูแลตนเองและควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินสุลินโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. 2549.
10. McKeehan, K.M. Continuing care : A multidisciplinary approach to discharge planning. St. Louis: The C.V. Mosby. 1981.
11. Hucy, A, Chronic illness: impact and intervention. 5th ed. Boston: Jones and Bartlett. 1986.
12. Davis, K. Human relation at work: The dynamic of organizational behavior. New York: McGraw Hill. 1995.
13. McClelland, E., Kelly, K., & Buckwalter, K.C. Continuity of care: Advancing the concept of discharge planning. London: Grune & Stratton. 1985.
14. Elliott, S. & Reimer, C. Post-discharge telephone follow-up program for breastfeeding
15. Cave L.A, Follow-up phone calls after discharge. American Journal of nursing 1999:89(7):942-3.
16. พรทิพย์ เกยุรานนท์. รูปแบบการดำเนินงานการดูแลสุขภาพที่บ้านของโรงพยาบาลในสังกัดของโรงพยาบาลภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุขในทศวรรษหน้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง