การจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2560
บทคัดย่อ
เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การทำ Focus Group และ Delphi Technique โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากวงการวิชาการ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน พบว่ามีปัญหาใน 3 ด้าน คือ ด้านการให้บริการสุขภาพ ด้านการเงินและการคลังด้านสุขภาพ และด้านการบริหารระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมที่สำคัญคือเรื่องการปรับปรุงระบบบริหารให้เป็นแบบ Area base โดยให้มีกลุ่มเป้าหมาย 30,000 คนต่อ 1 กลุ่ม ของหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยให้บูรณาการกับระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ การจัดให้ร้านขายยาคุณภาพเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการปฐมภูมิ ให้มีหน่วยงานจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารในระดับประเทศและในกรุงเทพมหานคร จัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการเมื่อต้องการการรับบริการที่ซับซ้อน ควรมีการสนับสนุนด้านวิชาการ ด้านควบคุมป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสภาพจากกระทรวงและกรมต่างๆ มีระบบการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ปรับการจ่ายเงินให้หน่วยปฐมภูมิเป็นแบบเหมาจ่าย ที่รวมทั้งค่ารักษา ส่งเสริม และป้องกันโรคตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ จัดทำระบบต้นทุนให้ครบถ้วนเพื่อใช้ในการวางแผนและจ่ายค่าบริการอย่างเป็นธรรม ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและกลไกการจ่ายเงิน โดยยึดพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมาย สร้างภาวะผู้นำภาคประชาชนเพื่อช่วยในการจัดระบบบริการปฐมภูมิให้ครอบคลุมในทุกระดับ และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเฉพาะต่างๆ ปฏิรูปการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในหมู่ประชาชนและอาสาสมัครด้านสาธารณสุข ปรับปรุงระบบบริการจัดการด้านสุขภาพ โดยบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติและของกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ (เขตของกรุงเทพฯ) โดยใช้กลไกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสุขภาพ
ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน
References
2. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์, วิวัฒน์ พุทธวรรณไชย, วิศรี วายุรกุล, จรรยา ภัทรอาชาชัย. ระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง 14 ประเทศ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555.6(2):144-153.
3. สุริยะ วงศ์คงคาเทพ, ภูษิต ประคองสาย, สุณี วงศ์คงคาเทพ, อังคณา จรรยกุลวงศ์. การประเมินผลเพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพ กองทุนสุขภาพระดับตำบลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการที่ดี. (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561). เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3125
4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักประกันแห่งความเสมอภาคและคุณภาพบริการสาธารสุข. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2547.
5. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดบริการด้านสาธารณสุข: กรณีศึกษาและบทเรียน (ออนไลน์). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561). เข้าถึงได้จาก:http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=9964649
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง