ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, เบาหวานขึ้นจอประสาทตาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์ วัสดุและวิธีการศึกษา:การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 922 คน ที่มารับการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโดยหน่วยตรวจตาเคลื่อนที่ของสถาบันราชประชาสมาสัย ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่องถ่ายรูปจอประสาทตาแบบไม่ต้องขยายรูม่านตา
ผลการศึกษา:ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาพบร้อยละ 7.40 (68 คน) โดยแบ่งเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตาชนิดไม่มีเส้นเลือดงอกใหม่ผิดปกติ ร้อยละ 7.20 และเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ชนิดมีเส้นเลือดงอกใหม่ผิดปกติ ร้อยละ 0.20 โดยปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นเบาหวานนานกว่า 5 ปี (OR 1.76, 95%CI 1.02-3.04, p<0.05) ระดับการมองเห็น 20/60 ถึง 20/200 (OR1.55, 95%CI 1.02-2.37, p<0.05) ระดับการมองเห็นน้อยกว่า 20/200 ถึงมือโบก (OR2.51, 95%CI 1.43-4.38, p<0.01) และการใช้อินซูลินรักษาเพียงอย่างเดียว (OR 3.00, 95%CI 1.42-6.33, p<0.01) สรุป:ควรมีการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วย
ที่เป็นเบาหวานมานาน มีระดับการมองเห็นที่ลดลง และใช้อินซูลินในการรักษาเพียงอย่างเดียว
References
2. Chan JC, Malik V, Jia W, Kadowaki T, Yajnik CS, Yoon KH, et al. Diabetes in Asia: epidemiology, risk factors, and pathophysiology. JAMA 2009;301:2129-40.
3. Aeplakorn W. Fifth National Health Examination survey 2014; 2016 Nov 1. Bangkok: Aksorn graphic and design; 2016.
4. Resnikoff S, Pascolini D, Etya’ale D, Kocur I, Pararajasegaram R, Pokharel GP, et al. Global data on visual impairment in the year 2002. Bull World Health Organ 2004;82:
844-51.
5. Guillermo A, Ariadna S. Diabetic retinopathy. In: Agerwal A, Apple D, Buratto L, AlióJ, Agerwal S, Pandey S, et al. Textbook of ophthalmology. 4th ed. NewDehli: Gapsons Papers; 2002. p.2560-80.
6. วัฒนีย์ เย็นจิตร, ภฤศ หาญอุตสาหะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, อุดมศิริ ปานรัตน์, ผ่องพักตร์ ชูศรี, ฉวีวรรณ เย็นจิตร. รายงานผลการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง โรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ครั้งที่ 4 ในประเทศไทย. 2550. (เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2559). เข้าถึงได้จาก:http://www.healthyability.com/detail_new.php?content_id=521
7. Wilkinson CP, Ferris FL III, Klein RE, Lee PP, Agardh CD, Davis M, et al. Proposed international clinical diabetic retinopathy and diabetic macular edema disease severity scales. Ophthalmology 2003;110:1677-82.
8. โยธิน จินดาหลวง. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานเขตเทศบาลเมืองตาก. พุทธชินราชเวชสาร 2552;26(1):53-61.
9. Chen MS, Kao CS, Chang CJ, Wu TJ, Fu CC, Chen CJ, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among noninsulin-dependent diabetic subjects. Am J Ophtalmol 1992;114:723-30.
10. Silpa-archa S, Sukhawarn R. Prevalence and associated factors of diabetic retinopathy in Chandrubeksa Hospital, Directorate of Medical services, Royal Thai Air Force. J Med Assoc Thai 2012;95:43-9.
11. Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973. p.727-28.
12. ดามพ์ มุกด์มณี. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 15-17 2550;21:88-100.
13. Nitiapinyasakul N, Nitiapinyasakul A, Tunya C. Diabetic retinopathy screening in communityhospitals. Thai J Ophthalmol 2004;18:103-10.
14. พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. จักษุเวชสาร 2547;18(1):77-85.
15. Chetthakul T, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et al. Thailand Diabetes Registry Project: Prevalence of Diabetic Retinopathy and Associated Factors in Type 2 Diabetes Mellitus. J Med Assoc Thai 2006;89:27-36.
16. Ausayakhun S, Jiratsatit J. Prevalence of diabetic retinopathy in noninsulin-dependent diabetes mellites patiens. Thai J Ophthamol 1991;5:133-8.
17. Sompopaskun A, Uaarayaporn Y, Sukchan P, Hayeeaema P, Chenseni F, Tangnaphadol K, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among registered diabetic patient in Songkhla general hospital. Princess of Naradhiwas University J 2012;4:29-43.
18. El Haddad OA, Saad MK. Prevalence and risk factors for diabetic retinopathy among Omani diabetics. Br J Ophthalmol 1998;82:901-6.
19. ขวัญเรือน วรเตชะ. ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2554;1:10-21.
20. Klein R, Klein BE, Moss SE, Davis MD, DeMets DL. The Wisconsin epidemiologic study of diabetic retinopathy III: Prevalence and risk of diabetic retinopathy when age at diagnosis is 30 or more years. Arch Ophthalmol 1984;102:527-32.
21. Narendran V, John RK, Raghuram A, Ravindran RD, Nirmalan PK, Thulasiraj RD. Diabetic retinopathy among self reported diabetics in southern India: a population based assessment. Br J Ophthalmol 2002;86:1014-8.
22. Zhang X, Saaddine JB, Chou CF, Cotch MF, Cheng YJ, Geiss LS, et al. Prevalence of diabetic retinopathy in the United States, 2005-2008. JAMA 2010;304:649-56
23. Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A and Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy in a south Indian Type 2 diabetic polulation in the Chennai Urban Rural
Epidemiology Study (CURES). Diabet Med 2008;25(5):536-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง