สถานการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงและผลการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตน ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2565
คำสำคัญ:
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตน, ความรุนแรงโรค, ผลการรักษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตน คือภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานแบบเฉียบพลัน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการรักษา การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาสถานการณ์ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงและผลการรักษา ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2565 วิธีการศึกษา: โดยเป็นการศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานที่อายุมากกว่า 15 ปีที่ได้รับการรักษาไว้ในโรงพยาบาลจำนวน 5,193 ราย ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตนอ้างอิงตามสมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตนจำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาในโรงพยาบาล อายุเฉลี่ยผู้ป่วย 52.9 ปี (SD=19) ส่วนสูงเฉลี่ย 159.6 เซนติเมตร (SD=11) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (SD=5) เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุด 96 ราย (ร้อยละ 73.9) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตนครั้งแรก 14 ราย (ร้อยละ 10.8) โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง รองลงมาคือภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 10.8 วัน (SD=12.3) มีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน 59 ราย (ร้อยละ 45.4) เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤต 16 ราย (ร้อยละ 12.3) ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งหมด 47 ราย (ร้อยละ 36.2) อัตราการเสียชีวิตจากการศึกษานี้พบมากถึง 32 ราย (ร้อยละ 24.6) สรุป: เมื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสามกลุ่มตามระดับความรุนแรงโรค พบว่าความรุนแรงโรคสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤต (p-value 0.049), การใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ (p-value 0.000) และอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.021) ซึ่งผลการศึกษานี้ทำให้ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดคั่งสารคีโตน ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีความรู้ความตระหนักในการดูแลรักษาตัวเองเพื่อป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่รุนแรง นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและลดอัตราเสียชีวิตลงได้ในอนาคต
References
Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, Barrett EJ, Kreisberg RA, Malone JI, et al. Management of hyperglycemic crises in patients with diabetes. Diabetes Care 2001;24(1):131-53.
Seth P, Kaur H, Kaur M. Clinical profile of diabetic ketoacidosis: a prospective study in a tertiary care hospital. J Clin Diagn Res 2015;9(6):OC01-4.
George JT, Mishra AK, Iyadurai R. Correlation between the outcomes and severity of diabetic ketoacidosis: a retrospective pilot study. J Family Med Prim Care 2018;7(4):787-90.
Charoenpiriya A, Chailurkit L, Ongphiphadhanakul B. Comparisons of biochemical parameters and diabetic ketoacidosis severity in adult patients with type 1 and type 2 diabetes. BMC Endocr Disord 2022;22(1):7.
Savage MW, Dhatariya KK, Kilvert A, Rayman G, Rees JAE, Courtney CH, et al. Joint British Diabetes Societies guideline for the management of diabetic ketoacidosis. Diabet Med 2011;28(5):508-15.
Graves EJ, Gillum BS. Detailed diagnoses and procedures, national hospital discharge survey, 1995. Vital Health Stat 13 1997;(130):1-146.
Malone ML, Gennis V, Goodwin JS. Characteristics of diabetic ketoacidosis in older versus younger adults. J Am Geriatr Soc 1992;40(11):1100-4.
Alourfi Z, Homsi H. Precipitating factors, outcomes, and recurrence of diabetic ketoacidosis at a university hospital in Damascus. Avicenna J Med 2015;5(1):11-5.
Usman A, Sulaiman SA, Khan AH, Adnan AS. Profiles of diabetic ketoacidosis in multiethnic diabetic population of Malaysia. Trop J Pharm Res 2015;14(1):179-85.
Anthanont P, Khawcharoenporn T, Tharavanij T. Incidences and outcomes of hyperglycemic crises: a 5-year study in a tertiary care center in Thailand. J Med Assoc Thai 2012;95(8):995-1002.
Vijara V, Polamaung W. Hyperglycemic Crisis in Prapokklao Hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2013;30(2):133-45.
Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) Diabetes Work Group. KDIGO 2022 clinical practice guideline for diabetes management in chronic kidney disease. Kidney Int 2022;102(5S):S1-S127.
Lin SF, Lin JD, Huang YY. Diabetic ketoacidosis: comparisons of patient characteristics, clinical presentations and outcomes today and 20 years ago. Chang Gung Med J 2005;28(1):24-30.
Ko SH, Lee WY, Lee JH, Kwon HS, Lee JM, Kim SR, et al. Clinical characteristics of diabetic ketoacidosis in Korea over the past two decades. Diabet Med 2005;22(4):466-9.
Kitabchi AE, Umpierrez GE, Miles JM, Fisher JN. Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes. Diabetes Care 2009;32(7):1335-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง