ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • พนิดา รัตนพงศ์เศรษฐ์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ภัควีร์ นาคะวิโร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

นอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, ซึมเศร้า, ความเครียด

บทคัดย่อ

อาการนอนไม่หลับ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากมีสรีรวิทยาทางการทำงานของสมองที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยพบว่าผู้สูงอายุจำนวน 1 ใน 3 จะมีอาการนอนไม่หลับ(1) การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนี้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัย และรักษาอาการนอนไม่หลับได้เร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลดภาวะแทรกซ้อน ยิ่งไปกว่านั้นอาการนอนไม่หลับ อาจเป็นหนึ่งในอาการแสดงของหลายๆโรค เช่น โรคซึมเศร้า การทราบปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ซึ่งบางการศึกษายังมีผลการศึกษาขัดแย้งกันอยู่ในบางปัจจัย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 300 คน (ผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ 150 คน และผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการนอนไม่หลับ 150 คน) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 โดยเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลส่วนตัว  ลักษณะส่วนบุคคล และใช้เครื่องมือแบบสอบถามต่างๆดังนี้ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (Insomnia severity index) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยของกรมสุขภาพจิต (TGDS) และแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (ST-5)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Independent t-test, Chi-square test/ Fisher exact test นำไปวิเคราะห์ตัวแปรพหุ (Multivariate analysis) โดยใช้ Binary Logistic Regression จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 70.3 ±6.7 ปี สถานภาพสมรส และมีความไม่เพียงพอของรายได้ คิดเป็นร้อยละ 76.0, 60.0, 59.0 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เพศหญิง ความไม่เพียงพอของรายได้ การมีภาวะซึมเศร้า และการมีระดับความเครียดตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป มีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับ การเฝ้าระวังและคัดกรองในปัจจัยนั้นๆ จะทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษา เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะยาวได้รวดเร็วและมากยิ่งขึ้น

References

จรียา เขียวผึ้ง, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์, ประคอง อินทรสมบัติ, อรพิชญา ไกรฤทธิ์. ผลของการนวดกดจุดฝ่าเท้าต่อคุณภาพการนอนในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2544;17:90-107.

National Institutes of Health. National Institutes of Health State of the Science Conference statement on Manifestations and Management of Chronic Insomnia in Adults. Sleep 2005;28:1049-57

โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุที่หมู่บ้านประชานิเวศน์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63:199-210.

Crowley K. Sleep and sleep disorders in older adults. Neuropsychol Rev 2011;21:41-53.

Ohayon MM. Epidemiology of insomnia: What we know and what we still need to learn. Sleep Med Rev 2002;6:97-111.

Sukying C, Bhokakul V, Udomsubpayakul U. An epidemiological study on insomnia in an elderly Thai population. J Med Assoc Thai 2003;86:316-24.

Kamel NS, Gammack JK. Insomnia in the elderly: cause, approach, and treatment. Am Med 2006;119:463-69.

Lin CL, Chien WC, Chung CH, Wu FL. Risk of type 2 diabetes in patients with insomnia: a population based historical cohort study. Diabetes Metab Res Rev 2018;34(1). doi: 10.1002/dmrr.2930.

Javaheri S, Redline S. Insomnia and risk of cardiovascular disease. Chest 2017;152:435-44.

Czeisler CA, Scammell TE, Saper CB. Sleep disorder. In: Kasper, Fauci, Hauser, Longo, Jameson, loscalzo, editors. Harrison's principle of internal medicine, 19th ed. USA: McGraw-Hill Education; 2015. p.184-9.

Stein E, Katz PO. GERD: GERD and Insomnia-First Degree Relatives or Distant Cousins?. Nat Rev Gastroenterol Hepatol 2010;7:8-10.

Kim WJ, Joo WT, Baek J, Sohn SY, Namkoong K, Youm Y, et al. Factors associated with insomnia among the elderly in a Korean rural community. Psychiatry Investigation 2017;14:400–6.

Dangol M, Shrestha S, Rai Koirala SK. Insomnia and its associated factors among older people of selected ward of Banepa municipality, Nepal. Nurs Open 2020;7:355–63.

ดุสิต จันทยานนท์, อัญญา เกียรติวีระศักดิ์, วรรษมน อินทรประสงค์, วิรดา อนันตวงศ์, มนสิชา งามภูพันธ์, วราพร พงศ์มรกต, และคณะ. การศึกษาความชุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะนอนไม่หลับและพฤติกรรมการใช้ยานอนหลับในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในชุมชนวัดอินทาราม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2555;1:12-24.

ธัญวรรณ เพ็ชรน้อย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563;2:51-73.

พัทรีญา แก้วแพง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

Train The Brain Forum Committee (Thailand). Thai Geriatric Depression Scale. Siriraj Medical Journal 1994;46:1-9.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551;16:177-85.

Li RHY, Wing YK, Ho SC, Fong SYY. Gender differences in insomnia - A study in the Hong Kong Chinese population. J Psychosom Res 2002;53:601–9.

Paine SJ, Gander PH, Harris R, Reid P. Who reports insomnia? Relationships with age, sex, ethnicity, and socioeconomic deprivation. SLEEP 2004;27:1163-9.

พวงสร้อย วรกุล, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, ณภัควรรต บัวทอง. ปัจจัยเสี่ยงต่อการนอนไม่หลับในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2547;37:34-45.

ยุพาวดี ขันทบัลลัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2561;1:16-30.

Ebrahim IO, Shapiro CM, Williams AJ, Fenwick PB. Alcohol and sleep I: effects on normal sleep. Alcohol Clin Exp Res 2013;37: 539-49.

Brook JS, Zhang C, Rubenstone E, Brook DW. Insomnia in adults: The impact of earlier cigarette smoking from adolescence to adulthood. J Addict Med 2015;9:40–5.

Passos GS, Poyares D, Santana MG, Garbuio SA, Tufik S, Mello MT. Effect of acute physical exercise on patients with chronic primary insomnia. J Clin Sleep Med 2010;6:270-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-17

How to Cite

1.
รัตนพงศ์เศรษฐ์ พ, โบสิทธิพิเชฎฐ์ ธ, นาคะวิโร ภ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิ. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 17 พฤษภาคม 2021 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];11(1):188-201. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/247246