คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาแบบประคับประคอง โดยไม่รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, ประคับประคอง, ไม่บำบัดทดแทนไตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (Kidney Disease Quality of Life Short Form: KDQOL-SFTM version 1.3) ฉบับภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 71.5 ปี (Max-Min=46-93) ค่ามัธยฐานของค่าการทำงานของไต (eGFR) เท่ากับ 9.05 (Max-Min=2.50-14.92) มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับสูง ( =70.9, SD=15.4672) และเมื่อพิจารณาคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเป็นรายบุคคล พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองมาคือระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 26.7 สรุปว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ แม้จะรักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบำบัดทดแทนไต จากผลของงานวิจัยนี้อาจนำมาซึ่งการทำงานร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับข้อมูลมากยิ่งขึ้น และในเชิงนโยบาย ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแก่พยาบาลโรคไต เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลประคับประคอง และบูรณาการการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างคลินิกโรคไตเรื้อรังและคลินิกดูแลประคับประคองต่อไป
References
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
3. Murtagh FE, Addington-Hall JM, Edmonds PM, Donohoe P, Carey I, Jenkins K, et al. Symptoms in advanced renal disease: a cross-sectional survey of symptom prevalence in stage 5 chronic kidney disease managed without dialysis. J Palliat Med 2007;10:1266-76.
4. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.
5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.
6. คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย. Thailand renal replacement therapy: Year 2015. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.
7. Hussain JA, Mooney A, Russon L. Comparison of survival analysis and palliative care involvement in patients aged over 70 years choosing conservative management or renal replacement therapy in advanced chronic kidney disease. Palliat Med 2013;27:829-39.
8. Chandna SM, Da Silva-Gane M, Marshall C, Warwicker P, Greenwood RN, Farrington K. Survival of elderly patients with stage 5 CKD: comparison of conservative management and renal replacement therapy. Nephrol Dial Transplant 2011;26:1608-14.
9. Verberne WR, Geers AB, Jellema WT, Vincent HH, van Delden JJ, Bos WJ. Comparative Survival among Older Adults with Advanced Kidney Disease Managed Conservatively Versus with Dialysis. Clin J Am Soc Nephrol 2016;11:633-40.
10. Carson RC, Juszczak M, Davenport A, Burns A. Is maximum conservative management an equivalent treatment option to dialysis for elderly patients with significant comorbid disease? Clin J Am Soc Nephrol 2009;4:1611-9.
11. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2560.
12. Yong DS, Kwok AO, Wong DM, Suen MH, Chen WT, Tse DMW. Symptom burden and quality of life in end-stage renal disease: A study of 179 patients on dialysis and palliative care. Palliat Med 2009;23:111-9.
13. Brown MA, Collett GK, Josland EA, Foote C, Li Q, Brennan FP. CKD in elderly patients managed without dialysis: Survival, symptoms, and quality of life. Clin Am Soc Nephrol 2015;10:260-8.
14. Iyasere O, Brown EA, Johansson L, Davenport A, Farrington K, Maxwell AP, et al. Quality of life with conservative care compared with assisted peritoneal dialysis and haemodialysis. Clin Kidney J 2018;12:262-8.
15. Da Silva-Gane M, Wellsted D, Greenshields H, Norton S, Chandna SM, Farrington K. Quality of life and survival in patients with advanced kidney failure managed conservatively or by dialysis. Clin J Am Soc Nephrol 2012;7:2002-9.
16. อำนวยพร แดงสีบัว, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์. การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;9:181-92.
17. จำรัส สาระขวัญ, สุนทรี สิทธิสงคราม, มาลินี บุญเกิด. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28:153-64.
18. นลิตา เหลาแหลม, พรมมินทร์ ไกรยสินธ์, วัชรียา ปาละกุล, อภิรดา ฉิมพาลี, กัตติกา หาลือ, วีระพล จันทร์ดียิ่ง. ประเมินคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไตและล้างไตทางช่องท้อง ณ โรงพยาบาลพะเยา. วารสารนเรศวรพะเยา 2557;7:172-77.
19. วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช. การทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไต (KDQOL-SFTM) ฉบับภาษาไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553;2:15-23.
20. ขนิษฐา หอมจีน, พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. การแปลและทดสอบกระบวนการคิดของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตโรคไตฉบับย่อภาษาไทย เวอร์ชั่น 1.3. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553;2:3-14.
21. จำรัส สาระขวัญ, สุนทรี สิทธิสงคราม, มาลินี บุญเกิด. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28:153-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง