Development of Repeated Drug Allergy Prevention System in Health Promotion Hospital Network of Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province by Evaluating the Accuracy of Patient Drug Allergic History

Authors

  • กาญจนาพร วิบูลย์ศิริกุล Department of Pharmacy, Bang Pahan Hospital, Phra Nakhon Si Ayutthaya province

Abstract

     ประวัติการแพ้ยาที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วย ส่งผลต่อความปลอดภัย และความเหมาะสมในการเลือกใช้ยาของบุคลากรสาธารณสุข การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องของประวัติแพ้ยาที่ผู้ป่วยแจ้ง และพัฒนาการบันทึกประวัติการแพ้ยาที่ถูกต้องจากการประเมินข้อมูลแพ้ยาของผู้ป่วย ตลอดจนการส่งต่อประวัติการแพ้ที่ถูกต้องระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อพัฒนาระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากแบบประเมินการแจ้งประวัติแพ้ยาที่ทำการประเมินประวัติแพ้ยาที่ผู้ป่วยแจ้งทุกรายโดยเภสัชกรตั้งแต่ 1ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2557 นำข้อมูลที่เภสัชกรบันทึกมารวบรวมและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่ใช้ประเมินความถูกต้องของประวัติแพ้ยาที่ผู้ป่วยรายงาน กับผลการประเมินประวัติแจ้งแพ้ยาของเภสัชกร และการดำเนินการตามกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำภายหลังประเมินประวัติแพ้ยาเสร็จ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 61.0 มี “ประวัติแพ้ยาจริง” รองลงมาเป็น “ข้อมูลประวัติแพ้ยาไม่ชัดเจน/ประเมินผลไม่ได้” ร้อยละ 28.8 และร้อยละ 24.7 มีผลการประเมินประวัติแจ้งแพ้ยาเป็น “ไม่ใช่การแพ้ยา” ข้อมูลด้านผู้แจ้งชื่อยาที่แพ้ให้กับผู้ป่วย พบว่า ถ้าผู้แจ้งเป็นคนเดียวกันกับผู้จ่ายยาที่แพ้ให้ผู้ป่วย ผลการประเมินเป็น “มีประวัติแพ้ยาจริง” สูงร้อยละ 75.2 เมื่อเทียบกับข้อมูลผู้แจ้งชื่อยาที่แพ้เป็นคนละคนกับผู้จ่ายยาที่แพ้ให้ ร้อยละ 52.9 (p=0.001) ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในด้านลักษณะ/รูปแบบยาที่ผู้ป่วยรายงานการแพ้ กับผลการประเมินประวัติแจ้งแพ้ยาพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) โดยข้อมูลการได้ยาที่แพ้ร่วมกับยาอื่นหรือกินยาชุดโดยไม่ทราบชนิดยา/ชื่อยาแต่ละตัวในยาชุดนั้น มีผลต่อการประเมินประวัติเป็น “มีประวัติแพ้ยาจริง” ต่ำกว่ากรณีผู้ป่วยแจ้งว่า ได้ยาที่แพ้ร่วมกับยาอื่นแต่ทราบชนิดหรือชื่อยานั้น (ร้อยละ 48.5 และร้อยละ 64.0 ตามลำดับ) ผู้ป่วยที่แจ้งข้อมูลการรักษาอาการในช่วงที่แพ้ได้ มีผลการประเมินประวัติเป็น “มีประวัติแพ้ยาจริง” ในอัตราที่สูงกว่าผู้ป่วยที่ให้ข้อมูลการรักษาอาการแพ้ไม่ได้หรือจำไม่ได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) เช่นกัน กิจกรรมที่ดำเนินการโดยเภสัชกรเพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำภายหลังการประเมินประวัติแจ้งแพ้ยาเสร็จ มีการให้คำแนะนำ/ให้ความรู้ และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อแพ้ยาให้แก่ผู้ป่วยร้อยละ 98.6 มีการลงข้อมูลการแพ้ที่ถูกต้องในฐานข้อมูลโปรแกรมระบบปฏิบัติการของโรงพยาบาลร้อยละ 100.0 ได้มีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาจำนวน 170 ราย ที่ประเมินความถูกต้องของประวัติแล้ว ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่าย และนำผลการวิจัยไปพัฒนาแบบฟอร์มหรือเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินการแพ้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำ

References

1. Gharaibeh MN, Greenberg HE, Waldman SA. Adverse drug reaction: a review. Drug inf J 1998;32:323-38.
2. Naranjo CA, Shear NH, Lanctot KL. Advances in the diagnosis of adverse drug reaction. J Clin Pharmacol 1992;32:897-904.
3. Meyboom RH. Causality assessment revisited. Pharmacoepidemiology and Drug Safety 1998;7:S63-5.
4. Medication errors associated with documented allergies. Pa Patient Saf Advis 2008;5(3):75-80.
5. จันทร์จิรา ชอบประดิถ. การลดและป้องกันการแพ้ยาซ้ำในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอาหารและยา 2547;11:61-7.
6. รุ่งลักษณ์ คิดเกื้อการุญ, ธม ทาหาร, สิริลักษณ์ โตวรานนท์, ปรารถนา ชามพูนท, อภิสิทธิ์ เทียนชัยโรจน์, วิมลเกษ สัมมะ และคณะ. ผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. พุทธชินราชเวชสาร 2551;25:852-61.
7. Fitzgerald RJ. Medication errors: the importance of an accurate drug history. Br J Clin Pharmacol 2009;67(6):671-5.
8. Hatton RC, Medication safety the importance of accurate drug allergy information. DRUGS & THERAPY BULLETIN 2010;24(5):1-4.
9. Shulman JI, Shulman S, Haines AP. The prevention of adverse drug reactions-a potential role for pharmacists in the primary care team?. Br J Gen Pract 1981;31:429-34.
10. Pilzer JD, Burke TG, Mutnick AH. Drug allergy assessment at a university hospital and clinic. Am J Health Syst Pharm 1996;53(24):2970-5.
11. Chaikoolvatana A, Chanakit T, and Juengrakpong A. The evaluation of a recurrent Adverse Drug Reaction Prevention Program in the north-east region of Thailand. J Med Assoc Thai 2006;89:699-705.
12. Chaipichit N. Strategies for improving patients’ knowledge, understanding and promoting behavioral change to prevent and reduce the occurrence of drug allergy [master thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2010.
13. ชุติมา ระฆังทอง, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแจ้งประวัติแพ้ยาโดยผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553;2:46-59.
14. Chaipichit N, Jarernsiripornkul N, Chumworathayi P. Knowledge, understanding of drug allergy anddrug allergy card carrying behavior of drug allergic patients in Srinagarindhospital. Srinagarind Med J 2009;24(3):224-30.
15. ภัคพิชา วิมล. ผลของการแทรกแซงทางจิตวิทยาร่วมกับการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรต่อความรู้และการแจ้งประวัติการแพ้ยาด้วยตนเองของผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2557;6:3-21.
16. Satta G, Hill V, Lanzman M, Balakrishnan I. β-lactam allergy: clinical implications and costs. Clinical and Molecular Allergy. 2013;11(2):1-3.
17. Nester TM, Hale LS. Effectiveness of a pharmacist-acquired medication history in promoting patient safety. Am J Health Syst Pharm 2002;59(22):2221-5.
18. Kaboli PJ, Mc Climon BJ, Hoth AB, Barnett MJ. Assessing the accuracy of computerized medication histories. Am J Manag Care 2004;10(11):872-7.

Downloads

Published

2019-01-16

How to Cite

1.
วิบูลย์ศิริกุล ก. Development of Repeated Drug Allergy Prevention System in Health Promotion Hospital Network of Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province by Evaluating the Accuracy of Patient Drug Allergic History. JPMAT [Internet]. 2019 Jan. 16 [cited 2024 Nov. 24];5(3):245-61. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/166496

Issue

Section

Original Article