การพัฒนาสูตรขนมทองม้วนโปรตีนต่ำจากแป้งสตาร์ชถั่วเขียวสำหรับ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (ก่อนล้างไต) ระยะที่ 3-5

ผู้แต่ง

  • ทิวาพร มณีรัตนศุภร สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • นันทพร จั่นเผือก สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • วริษฐา สัตนาโค สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • อำพร แจ่มผล สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • ทิพากร ม่วงถึก สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • กานต์สุดา วันจันทึก สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • พิมพ์อร สุขแล้ว สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • ศิริพร เรียบร้อย คิม สาขาอาหารและโภชนาการ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพ
  • วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พุทธมณฑล นครปฐม

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, ขนมโปรตีนต่ำ, แป้งสตาร์ชถั่วเขียว, ขนมทองม้วน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขนมทองม้วนโปรตีนต่ำจากแป้งสตาร์ชถั่วเขียวสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (ก่อนล้างไต) ระยะที่ 3-5 โดยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตควรจำกัดการบริโภคโปรตีนเพื่อลดการทำงานของไต ขนมทองม้วนเป็นขนมที่มีโปรตีนจากไข่และแป้ง จากการทดแทนส่วนผสมของแป้งในขนมทองม้วนสูตรควบคุม (C)ซึ่งเป็นชุดควบคุมด้วยแป้งสตาร์ชถั่วเขียว ร่วมกับการปรับอัตราส่วนของแป้งสตาร์ชถั่วเขียวต่อน้ำกะทิ เท่ากับ 1:1.5 (C-1), 1:1.75 (C-2) และ 1:2 (C-3) ไม่เติมไข่และงา พบว่าปริมาณกะทิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสทุกลักษณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่ C-1 มีคะแนนความชอบมากกว่า C-2 และ C-3 ในทุกลักษณะ การศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการเปรียบเทียบกับสูตร C พบว่าขนมทองม้วนสูตร C-1 มีปริมาณโปรตีนลดลงถึง 98.8% การไม่เติมไข่และงาส่งผลทำให้ปริมาณไขมันลดลงและไม่พบคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ C-1 มีโซเดียมและฟอสฟอรัสลดลงการทดสอบผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก (7.97-8.27 คะแนน) และผู้บริโภค 94 คนจาก 100 คนจะตัดสินใจซื้อ จากผลการทดลองขนมทองม้วนสามารถดัดแปลงด้วยแป้งสตาร์ชถั่วเขียวและน้ำกะทิที่อัตราส่วน 1:1.5 (น้ำหนัก:น้ำหนัก) และสามารถใช้เป็นขนมทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (ก่อนล้างไต) ระยะที่ 3-5

References

Hyun YY, Lee KB, Han SH, et al. Nutritional Status in Adults with Predialysis Chronic Kidney Disease: KNOW-CKD Study. J Korean Med Sci. 2017;32(2):257-263.

Pawlaczyk W, Rogowski L, Kowalska J, et al. Assessment of the Nutritional Status and Quality of Life in Chronic Kidney Disease and Kidney Transplant Patients: A Comparative Analysis. Nutrients. 2022;14(22):4814.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 1577/2564. ขนมทองม้วน. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 2564: 6 หน้า

วิไลรัตน์ มั่นคง, จิราภรณ์ โตแหยม, จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง, ผกาวดี เอี่ยมกำแพง, อารี ธนวัฒน์ชัย. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนเสริมผงตะไคร้. การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2; 22 ธันวาคม 2558; กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร;2558. 595-602

สุนันท์ บุตรศาสตร์, สาริณี เสริมไธสง, รุ่งทิพย์ เจริญมูล. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทองม้วนข้าวกล้องมันปูผสมแก่นตะวันเสริมสารสีจากพืช.รายงานผลการวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.2561

ศุภเวช ทิพย์ธารา. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนเสริมฟักข้าว. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.2560

รัชนีพร โพธินาม, อนุชิตา มุ่งงาม, ทัตดาว ภาษีผล. องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของสตาร์ชถั่วเขียวและถั่วพุ่มและการประยุกต์ใช้ในการผลิตวุ้นเส้น. วารสารแก่นเกษตร. 2559;44(ฉบับพิเศษ1):1073-1079

รัมภา ศิริวงศ์. ขนมไทย เล่ม 1.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ดวงกมลพับลิชชิ่ง;2552.

สุปราณี แพรศิริ.ขนมไทย.กรุงเทพ:เอ็มไอเอส;2552.

ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์.ตำรับขนมไทย.กรุงเทพ:บริษัท เจเนอรัลบุ๊คส์ เซนเตอร์ จำกัด;2532.

Kim YY, Woo KS, Chung HJ. Starch characteristics of cowpea and mungbean cultivars grown in Korea. Food Chem. 2018;263:104-111.

Fang C, Huang J, Pu H, Yang Q, Chen Z, Zhu Z. Cold-water solubility, oil-adsorption and enzymolysis properties of amorphous granular starches. Food Hydrocolloids [Internet]. 2021 Aug;117:106669.

Tester, R. F., & Morrison, W. R. Swelling and gelatinization of cereal starches. I. Effects of amylopectin, amylose, and lipids. Cereal Chemistry. 1990;67:551–557.

Chen Y, Chen Y, Fang Y, Pei Z, Zhang W. Coconut milk treated by atmospheric cold plasma: Effect on quality and stability. Food Chem. 2023;430:137045.

Ikizler TA, Burrowes JD, Byham-Gray LD, Campbell KL, Carrero J-J, Chan W, et al. KDOQI Clinical Practice Guideline for Nutrition in CKD: 2020 Update. American Journal of Kidney Diseases [Internet]. 2020 Sep;76(3):S1–107.

Liu T, Wu Y, Qin Y, Zhang Y. Characteristics of Protein from Mung Bean Starch Processing Wastewater. Food Science. 2017;38:104-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/03/2023

How to Cite

มณีรัตนศุภร ท., จั่นเผือก น., สัตนาโค ว., เตชะเกรียงไกร ท., แจ่มผล อ., ม่วงถึก ท., วันจันทึก ก., สุขแล้ว พ., เรียบร้อย คิม ศ., & เกรียงสินยศ ว. (2023). การพัฒนาสูตรขนมทองม้วนโปรตีนต่ำจากแป้งสตาร์ชถั่วเขียวสำหรับ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (ก่อนล้างไต) ระยะที่ 3-5. วารสารโภชนาการ (Online), 58(2), 16–25. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAT/article/view/264568