การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพที่เสริมสร้างคุณภาพการจัดการศึกษา ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • เพลินตา พรหมบัวศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • ชุติมา มาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

Educational Quality, Quality Management Model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพที่เสริมสร้างคุณภาพการจัดการศึกษา ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารคุณภาพที่พัฒนาขึ้น โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ4) การประเมินประสิทธิผลและยืนยันรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าในการทดลองใช้รูปแบบ คือ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โดยเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบและยืนยันรูปแบบ ได้แก่ อาจารย์จากวิทยาลัย 3 แห่งที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารคุณภาพ

          ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบริหารคุณภาพที่เสริมสร้างคุณภาพการจัดการศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “APPS-ADVICE model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  คือ 1) วัตถุประสงค์ (Aim: Achieving educational quality)  2) หลักการ (Principle: Participation)  3) กระบวนการบริหารคุณภาพ (Process of quality management: Processing ADVICE)  4) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ (Success factors: Strength of Leadership, Staff, Sources of Learning) โดยกระบวนการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนเรียกว่า “ADVICE” คือ 1) การวิเคราะห์เป้าหมายคุณภาพ (A : Analyzing goals)   2) การออกแบบแผนบริหารคุณภาพ (D : Designing plan of quality management) 3) การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม (V: Vision deployment and participation)  4) การปฏิบัติและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้วัฒนธรรมคุณภาพ (IC: Implementation and Continuous learning) 5) การประเมินผล (E:  Evaluation)

 

   2. ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารคุณภาพโดยประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้รูปแบบ พบว่า

       2.1) ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยภาพรวมวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง มีคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์รายองค์ประกอบเพิ่มขึ้น 4 องค์ประกอบ จาก 5 องค์ประกอบคุณภาพ

       2.2) ผลลัพธ์การดำเนินงานบริหารคุณภาพตามความคิดเห็นของอาจารย์ พบว่า  โดยภาพรวมทั้ง 3 วิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยในระดับดี ( = 4.18, 4.05 และ 4.40) และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยในระดับดี ( = 4.04, 4.09 และ 4.27)

 

คำสำคัญ : คุณภาพการจัดการศึกษา  รูปแบบการบริหารคุณภาพ 

 

ABSTRACT

The purposes of the study were 1) develop quality management model enhancing educational quality among nursing colleges under jurisdiction of Praboromarajchanok Institute, 2) evaluate the effectiveness of the developed model. Four steps of research and development were conducted as follows; 1) Analyzing based line data, 2) Develop model, 3) Test the developed model.  The subjects recruited by purposive sampling were 3 nursing colleges, Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi, Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi and Prachomklao College of Nursing, Petchaburi, and 4) evaluate the effectiveness of the developed model and finalized model. The samples were 59 instructors of 3 nursing colleges recruited by using purposive sampling. The research instruments were composed of questionnaire and interview focused on effectiveness evaluation.

The study revealed as follows;

  1. The quality management model was named as “APPS-ADVICE model” comprising four components; 1) Aim (A: Achieving educational quality), 2) Principle (P: Participation), 3) Process of quality management (P: Processing ADVICE) and 4) Success factors in using model (S: Strength of leadership, Staff, Sources of Learning). The quality management process was composed of 5 steps called “ADVICE”; 1) Analyzing goals: A, 2) Designing plan of quality management: D, 3) Vision deployment and participation: V, 4) implementing and continuous learning: IC and 5) Evaluation and continuous improvement: E.
  2. The effectiveness of quality management model;

2.1) The total mean scores on the results after deploy the model were assessed by the quality criterion of Bureau of Higher Education Standards. The quality score of 3 nursing colleges were increased 4 from 5 components of quality criterion.

2.2) The total mean scores on the results after deploy the model affecting organization in quality management toward the instructors, s opinion of 3 nursing colleges were at good level (=4.18, 4.05 and 4.40, respectively). Moreover, the total mean scores on the instructors, satisfaction towards the model usage were at good level (=4.04, 4.09 and 4.27, respectively). 

Author Biographies

เพลินตา พรหมบัวศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ชุติมา มาลัย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย