การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย สำหรับพนักงานในสถานประกอบการ
คำสำคัญ:
Health Promoting Exercise, Employees, Workplaces, Confirmatory Factor Analysisบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงานในสถานประกอบการ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงานในสถานประกอบการ ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานจำนวน 480 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จากสถานประกอบการผลิตเนื้อไก่แปรรูปในจังหวัดชลบุรี 2 แห่ง จำนวนพนักงาน 240 คน/แห่งโดยสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงาน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.250 ถึง 0.906 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.935 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานในสถานประกอบการมีการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยถึงระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 10 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 25 ด้าน และระดับน้อย 7 ด้าน ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ของการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงาน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานจากมากไปน้อย คือ องค์ประกอบ ด้านการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย ด้านการประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย ด้านการวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย ด้านการได้รับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกายจากสถานประกอบการ ด้านการรับข้อมูลข่าวสารการสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย ด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการออกกำลังกาย ด้านการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.97, 0.95, 0.94, 0.88, 0.87, 0.50, 0.29, 0.20 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า องค์ประกอบการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงานในสถานประกอบการทั้ง 8 องค์ประกอบมีความสำคัญเท่ากัน โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00 จากการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่าค่าสถิติ c2 เท่ากับ 279.84 ค่า df เท่ากับ 141 ค่า c2/df เท่ากับ 1.98
ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.954 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.901 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (SRMR) เท่ากับ 0.070 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.045 แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงานในสถานประกอบการที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี
จากผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารสถานประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของพนักงานในสถานประกอบการ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งแปดเพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และพนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี
คำสำคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พนักงาน สถานประกอบการ องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ABSTRACT
This survey research study aimed to investigate health promotion exercise of employees in the workplace and validate the consistency of health promotion exercise for employees in the workplaces models and empirical data. A two-stage random sampling technique was used to recruit 480 employees in two processed chicken meat workplaces (Each workplace is 240 employees). Simple random samplings were used. The instrument used was a health promotion exercise scale with discriminating powers ranging between 0.250 to 0.906 and a reliability of 0.935. The study period was during 1 – 31 July 2016. The collected data were analyzed through descriptive statistics and the confirmatory factors were analyzed through LISREL version 8.80 Program.
The results of the study were as follows: Employees in the workplace is health promotion exercise, as a whole, in at a low level to high level. Ten aspects were found in a high level; while the twenty five aspects were in a moderate level and the seven remaining aspects were in low level. The second order confirmatory factor analyses of health promotion exercise for employees in the workplaces models consists of 8 factor namely Implementing health promotion exercise, evaluation health promotion exercise, planning health promoting exercise, support by the establishment, receive information, perceived self-efficacy, perceived barriers to Action, perceived benefits of action. The perceived benefits of exercise, ranking from the highest to the lowest standardized factor loadings of 0.97, 0.95, 0.94, 0.88, 0.87, 0.50, 0.29 and 0.20. The results of secondary order confirmatory factor analyses revealed that eight factors were equally important with factor loading of 1.00. The validation of a goodness of fitted model yielded a Chi-square of 279.84 at a degrees of freedom of 141 (χ 2/ df =1.98, GFI = 0.954, AGFI = 0.901, SRMR = 0.070, RMSEA = 0.045). The variables in the health promotion exercise for employees in the workplaces models were consistent with the empirical data.
The results of this study revealed that administrators should consider eight factors in
health promotion exercise for employees in the workplaces to promote employees have the habit of exercising consistently, employees have efficient working increases and employees quality of life