แบบจำลองเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

A causal model, Medication adherence behavior, Hypertension

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ และทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ จำนวน 400 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพิจิตร โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลกำแพงเพชร และโรงพยาบาลสุโขทัย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนตุลาคม 2558 แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความเชื่อเกี่ยวกับปัจจัยควบคุมพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความตั้งใจในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการศึกษาพบว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (=10.81, df = 9, /df = 1.20, p-value = 0.28, CFI= 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.02) และอธิบายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอได้ร้อยละ 22  ตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยตรงทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ คือ ความตั้งใจและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม (ß = 0.34, p<.01; ß = 0.03, p<.01 ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมกับพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ คือ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และเจตคติต่อพฤติกรรม โดยส่งผ่านความตั้งใจ (ß = 0.16, p<.05; ß = 0.12, p<.05; ß = 0.04, p<.05 ตามลำดับ) ผลการวิจัยสนับสนุนทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางสุขภาพในการสร้างโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ต่อไป

คำสำคัญ: แบบจำลองเชิงสาเหตุ พฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูง

ABSTRACT

                   This study aimed to develop a causal model of medication adherence behavior among hypertensive adult patients and test causal relationship between factors based on the theory of planned behavior. The samples are 400 hypertensive patients who were attending outpatient department at Phichit Hospital, Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital, Kamphaeng Phet Hospital, and Sukhothai Hospital. Data were collected from October 2017 to October 2018. A set of questionnaires developed from theory of planned behaviors and literature review were used to collect data, including: the demographic data, attitudes toward medication adherence behavior, behavioral beliefs, subjective norms, normative beliefs, perceived behavioral control, control beliefs, intentions, and medication adherence behavior. Descriptive statistics were generated using SPSS and causal modeling involved in the use of LISREL program. The results revealed that model fit with the empirical data (=10.81, df = 9, /df = 1.20, P-value = 0.28, CFI= 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.02). In addition, the model could explain 22% of variance in medication adherence behavior. Intention and perceived behavior control had a positive direct effect on medication adherence behavior (ß = 0.34, p<.01; ß = 0.03, p<.01, respectively). Furthermore, perceived behavior control, subjective norm, and attitude had an indirect effect on medication adherence behavior through intention (ß = 0.16, p<.05; ß = 0.12, p<.05, ß = 0.04, p<.05, respectively).  The results support theory of planned behavior and provide guideline for health care provider developing a program to promote medication adherence behavior in hypertensive adult patients.

Author Biography

สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย