พฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์โรคเบาหวาน โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ปี 2554

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ศิลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • นงลักษณ์ แก้วศรีบุตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • กล้วยไม้ ธิพรพรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • ทินวิสุทธิ์ ศรีละมัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • ณัฐสิทธิ์ ร่มศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

คำสำคัญ:

self-care behaviors, diabetic, monks

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ ของงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ โรคเบาหวาน  ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของระบบบริการของคลินิกเฉพาะโรค  โรงพยาบาลชุมแพ  แผนกงานผู้ป่วยนอก  จังหวัดขอนแก่น

วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้  คือ  พระสงฆ์โรคเบาหวาน  ที่มีภูมิลำเนา ในตำบลชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น  จำนวน  6  รูป  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย  แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสัมภาษณ์เชิงลึกพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์โรคเบาหวาน  รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน  2554 ถึงเดือน ธันวาคม  2554  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป  ด้วยสถิติพื้นฐาน  ความถี่  ร้อยละ    ด้านข้อมูลคุณภาพ  วิเคราะห์แบบสามเส้า

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์โรคเบาหวาน  ประกอบด้วย  การดูแลตนเองด้านร่างกาย  การดูแลเท้า  การควบคุมอาหารเบาหวาน  การออกกำลังกาย  การพักผ่อน ด้านจิตใจ  ประกอบด้วย  การรักษาศีล  การทำสมาธิ  การใช้ปัญญา  ด้านการรักษา  ประกอบด้วย  การใช้ยา เบาหวานอย่างต่อเนื่อง  การติดตามตรวจตามนัด และการใช้สมุนไพร  ด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  ประกอบด้วย  การรู้จักประเมินตนเอง  และการจัดการเมื่อมีอาการผิดปกติ   พระสงฆ์โรคเบาหวานกลุ่มที่ไม่ได้ รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับโรค ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัว เกี่ยวกับโรค ไม่ถูกต้อง  เช่น  การไม่มาติดตามตรวจตามนัด  หยุดฉันยาเอง การดูแลเท้าเมื่อมีแผลไม่ถูกต้อง  ดังนั้นเจ้าหน้าที่ จึงควรจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเอง  รวมทั้งมีการแจกคู่มือประจำตัวหรือแผ่นพับ ให้กับผู้ป่วย  มีระบบติดตามผู้ป่วยเบาหวานที่ขาดนัด  ระบบโทรศัพท์เพื่อเลื่อนนัด  รวมทั้งมีการติดตามเยี่ยม ผู้ป่วย
เบาหวานในชุมชน  มีการส่งต่อผู้ป่วยในชุมชน  นอกจากนี้พบว่าพระสงฆ์โรคเบาหวาน มีความพึงพอใจ ต่อระบบบริการ  เนื่องจากได้รับการอำนวยความสะดวกในการจัดช่องทางด่วนบริการ  แต่มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเพิ่มเติม  คือ  อาคารสถานที่เนื่องจากคับแคบ จำนวนแพทย์ผู้ตรวจไม่เพียงพอกับผู้รับบริการ  และควรจัดให้มีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ

คำสำคัญ : พฤติกรรมการดูแลตนเอง  โรคเบาหวาน  พระสงฆ์

 

Abstract


This qualitative study aimed to study self - care behaviors of diabetic monks, and the problem of the DM clinic at Chumphae hospital.  The participants were six diabetic monks living in Chumphae
Sub - District, Khonkaen Province.  The study conducted during November and December, 2011. The samples were interviewed by questionnaires with 2  parts: personal data, and self - care behaviors.  The personal data were analyzed by frequency and percentage.  The qualitative data were analyzed by
Tri - angulations.  The diabetic monks self care behaviors were foot care, exercise, restrict diet, and rest. Mental self - care were respecting the  227 precepts for Monk, and meditation.  The medical management composed of applied medication, follow up, herbal medicine.  The prevention strategies of complications were observation and self- treatment reflect to abnormal symptoms.
Lack of suggestion by health personal made the monks having inappropriate knowledge self care, leading to losing follow - up, self - quit medication, and foot ulcer improper care. Therefore the hospital personnel should provide knowledge about the disease and self - care by health education and leaflet. The follow - up system should be reviewed to catch up patients who lost to follow - up and to build up postpone appointment system by phone. The community patient visit and the referral system should be established. The samples were satisfied with the services provided special channel for Monk, which was less time waiting.  The monk faced difficulties with the limit space, inadequate doctors, and no special waiting seats for monks.

Keywords : self-care  behaviors , diabetic , monks

Author Biographies

จารุวรรณ ศิลา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

นงลักษณ์ แก้วศรีบุตร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

กล้วยไม้ ธิพรพรรณ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ทินวิสุทธิ์ ศรีละมัย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ณัฐสิทธิ์ ร่มศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 354 หมู่ 2 ถ.เลี่ยงเมือง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

โรงพยาบาลชุมแพ

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย