ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์นิเทศและผู้รับบริการ ต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้แต่ง

  • ประไพ กิตติบุญถวัลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
  • ผุสดี ก่อเจดีย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
  • เกศแก้ว สอนดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
  • ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

คำสำคัญ:

Humanized care, Nursing student, Community nursing practicum

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์นิเทศ และผู้รับบริการต่อการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตลอดจนความคิดเห็นของนักศึกษาด้านปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประชากรคือ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน อาจารย์นิเทศ จำนวน 10 คนและผู้รับบริการในชุมชน จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  3 ฉบับ ได้แก่  แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของนักศึกษา แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ และผู้รับบริการต่อการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86  0.83  และ 0.93 ตามลำดับ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มย่อย  วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.  การปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล
ของอาจารย์นิเทศ และของผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก

2.  การปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดมีความสอดคล้องกันทั้ง 3 กลุ่มคือด้านจิตบริการที่ดี

โดยการปฏิบัติการพยาบาลที่อ่อนโยน มีเมตตา ใส่ใจความรู้สึก  และดูแลเหมือนญาติ

3. การปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำ คือ ด้านการรวบรวมข้อมูลตามสภาพจริงโดยไม่ตัดสินผู้รับบริการ                                   และด้านการวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมกับสภาพจริงของวิถีชีวิตครอบครัว ชุมชน

4.  ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็น
มนุษย์ พบปัจจัยที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกคือ แบบอย่างของอาจารย์นิเทศ กิจกรรมการฝึก
แบบครอบครัวกรณีศึกษา การเรียนรู้และการปลูกฝังจากครอบครัวของนักศึกษา

ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีนโยบายการพัฒนาอาจารย์นิเทศในการปฏิบัติ การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

2. ควรส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ครอบครัวกรณีศึกษา และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตหรือการปฏิบัติการพยาบาลในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา

3. ควรศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสังคมจากการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

คำสำคัญ  : การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  นักศึกษาพยาบาล  การพยาบาลชุมชน

 

Abstract


The objective of this descriptive study was to examine the opinions of nursing students, nursing faculty, and clients on humanized community care nursing practicum and its related factors perceived by nursing students. The population comprised 78 second year nursing students at Boromarajjonani College of Nursing, Saraburi, 10 nursing faculties, and 78 clients in community.  Research instruments used in this study were three questionnaires developed by the researcher: humanized community care nursing practicum questionnaire perceived by nursing students, the student's humanized community care nursing practicum questionnaire perceived by nursing faculty and their clients. Content was validited by three content experts. The internal consistency reliability by Cronbach's alpha were 0.86, 0.83, and 0.93 , respectively. Data collection was conducted using questionnaires and focus group discussion. Data were analyzed by mean, percentage and content analysis.
Results were as follow.
1.    The scores on humanized community care nursing practicum of nursing student as perceived by students, faculty, and clients were all at the high level.
2.    The highest mean score of humanized practicum across three groups of students, faculty, and clients were similar, central on service mind, which were gentleness, kindness, compassion, and family-like caring.
3.    The lowest mean scores of humanized practicum were the nonjudgmental data collection, and the plan of nursing care to match lifestyle and situation in community.
4.    The students' opinions on factors influencing their humanized community practicum were the teacher role model, the practicum on family case study, and the life learning in calculated from the students' family.
It is recommendation as follow.   
1.    The faculty should have policy on nursing supervision development on the humanized community care nursing practicum.
2.    There should be encouragement on learning activities, family case study, and sharing real-life learning or humanized community nursing practicum among groups of students.
3.    Faculty should conduct research on the impacts of humanized community nursing practicum on society.

Keywords : Humanized care ,  Nursing  student ,  Community nursing practicum


Author Biographies

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

ผุสดี ก่อเจดีย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

เกศแก้ว สอนดี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 18/64 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย