การศึกษาบริบทของสถาบันการศึกษาพยาบาล การจัดการเรียนการสอนและการปรับตัวเมื่อเข้าสู่วิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษา จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เสาวภา เอกอดิศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • นงเยาว์ ชัยทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • สุนันทา ทองพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.aมะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • กรองทอง ออมสิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.aมะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Adjustment toward nursing profession, nursing student, nursing educational institution

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของสถาบันการศึกษาพยาบาล สภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนและการปรับตัวเมื่อเข้าสู่วิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าศึกษาที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน จากทั้งหมด 200 คน ที่ร่วมกันดำเนินโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการเขียนบันทึกด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และกำหนดประเด็นหลัก

ผลการศึกษาพบว่าประเด็นหลัก ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลักคือ ประเด็นที่ 1 เหตุผลในการเข้าศึกษาพยาบาลจำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ นักศึกษาชอบและครอบครัวสนับสนุน นักศึกษาไม่ชอบแต่ครอบครัวสนับสนุน และนักศึกษาชอบแต่ครอบครัวไม่สนับสนุน ประเด็นที่ 2 ทัศนคติและความคิดเห็นต่อวิชาชีพการพยาบาลนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อวิชาชีพในเชิงบวกต่อวิชาชีพการพยาบาล โดยนักศึกษารับรู้ว่าพยาบาลเป็นอาชีพที่มีเกียรติและได้รับการยอมรับจากสังคม  เป็นวิชาชีพที่ต้องเสียสละ มีความรับผิดชอบ
ตรงต่อเวลา  มีความเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ซื่อสัตย์ กิริยามารยาท
งดงาม พูดจาไพเราะ ประเด็นที่ 3 สภาพความเป็นอยู่ในวิทยาลัยพยาบาลพบว่า นักศึกษาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากในหอพัก ห้องน้ำและห้องสุขามีไม่เพียงพอ บรรยากาศรอบๆ วิทยาลัยมีที่พักผ่อนหย่อนใจน้อย
มีกฎระเบียบของวิทยาลัยที่ค่อนข้างเป็นระเบียบ เข้มงวด เป็นเรื่องที่นักศึกษาไม่เคยต้องปฏิบัติมาก่อน การอยู่ร่วมกันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง โดยรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องในเรื่องความเป็นอยู่ในหอพัก กิริยามารยาทในการอยู่ร่วมกัน ประเด็นที่ 4 สภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีการจัดตารางสอนที่แน่นมาก การสอนที่รีบเร่ง หรือการเปลี่ยนชั่วโมงสอนของครูทำให้นักศึกษาไม่มีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนและก่อให้เกิดความสับสน มีผลให้นักศึกษามีปัญหาในการเรียนมากยิ่งขึ้น และประเด็นที่ 5 การแก้ปัญหาเมื่อเวลาที่มีปัญหาการเรียนพยาบาลสำหรับการแก้ปัญหาเรื่องเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยการพยายามตั้งใจเรียนให้มากขึ้น หันมาดูตนเองว่าอะไรที่ทำให้เขาเรียนไม่จบ  บางรายที่มีปัญหาภาษาอังกฤษ หรือวิชาที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ  จะหันมาทบทวนโดยการศึกษาหาอ่านจากตำราในห้องสมุด หรือชวนกลุ่มเพื่อนที่มีปัญหารวมกลุ่มกันศึกษาด้วยตนเอง

คำสำคัญ  : การปรับตัวเข้าสู่วิชาชีพ  นักศึกษาพยาบาล  สถาบันการศึกษา  การจัดการเรียนการสอน

 

ABSTRACT


This descriptive research aimed at studying the nursing educational institution teaching and learning towards nursing profession learning context, and adjustment among nursing students in Southern border provinces, Boromarajonani College of Nursing, Suratthani, Thailand. The purposive sampling technique was used to gain 30 out of 200 nursing students in the Professional Nurses from Increment Project for Southern Border Problem Solution. Data were collected by in-depth interviewing, participatory and non-participatory observation, and self-reporting. The data were analyzed using content analysis technique: grouping, coding, categorizing and theme developing. The research found five themes. Firstly, reason for choosing nursing profession can be categorized into 3 groups. The students wanted to study nursing with parents supported; the students did not want to study nursing but parents convinced them; the students wanted to study nursing without parents supported. Secondly, in terms of students opinions and attitudes toward nursing profession, most of the nursing students had positive attitudes towards nursing profession as the profession was honorable, highly recognizable, dedicated, responsible, punctual, generous, willing to help others and do not expect anything in return, honest, polite and good  manners . Thirdly, in terms of living condition, living in the dormitory was too crowded, there were not enough toilets and bathrooms, the environment was inadequate to relax, college's rules and seniority system were too rigid.  Fourthly, in terms of teaching and learning condition, learning schedule was too tight, haste in teaching, confusing due to the changing teaching hours, and do not have the opportunity  to review or learning the content that  causes the learning problems. Fifthly, most of nursing students could solve their own learning problems by working hard and engaging in self-reflection to find the cause of the learning problems. For English subjects or some subjects which were related to English, the nursing students would spend more time on self-study in the library or study with peers who share the same learning problems.

Keywords : Adjustment toward nursing profession, nursing student, nursing educational institution

Author Biographies

เสาวภา เอกอดิศักดิ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

นงเยาว์ ชัยทอง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

สุนันทา ทองพัฒน์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.aมะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

กรองทอง ออมสิน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.aมะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย