ความต้องการกำลังคนสาขาผู้ช่วยพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้*
คำสำคัญ:
the need for practical nurse, five southern border provincesบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การผลิตผู้ช่วยพยาบาลเข้าสู่ระบบสุขภาพที่ผ่านมาเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการขาดแคลน
พยาบาลเพื่อให้ได้บุคลากรที่มาทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ไม่ต้องใช้การตัดสินใจทาง
คลินิกช่วยดูแลบำรุงรักษาเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้พยาบาลได้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยโดยตรงอย่างเต็มที่ ถึงแม้จะมีการผลิตผู้ช่วยพยาบาลจำนวนมากต่อปี แต่ความต้องการยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก
ผู้ช่วยพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบันบางส่วนเลิกให้บริการด้านสุขภาพแล้ว หรือเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่น
มีผลให้ปริมาณที่มี อยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบสุขภาพในปัจจุบัน
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross - sectional descriptive study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความต้องการผู้ช่วยพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อิงตามภาระงานของผู้ช่วยพยาบาล 2) ความพึงพอใจผู้ใช้บริการผลผลิตจากหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 3) ความพึงพอใจในการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา และ 4) บทบาทหน้าที่ ปัญหา อุปสรรค ในการทำงาน ความคาดหวังและเส้นทางการพัฒนาของ ผู้ช่วยพยาบาลในอนาคต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล ในสถานบริการ
ด้านสุขภาพทุกระดับจำนวน 54 แห่งใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 5 ชุด ได้แก่ แบบตรวจสอบภาระงาน
ผู้ช่วยพยาบาล แบบสอบถามความต้องการผู้ช่วยพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผลผลิตจากหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรม และแบบสัมภาษณ์ใช้ใน
การสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ผลการตรวจสอบภาระงานโดยพยาบาลที่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือปฏิบัติงานร่วมกันกับผู้ช่วย พยาบาล ได้ภาระงานของผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 30 ข้อ ผู้วิจัยนำไปสอบถามจากความต้องการผู้ช่วยพยาบาล ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อิงตามภาระงานนี้พบว่า ยังมีความต้องการผู้ช่วยพยาบาลอีก จำนวน 401 คน เมื่อเทียบกับความต้องการพยาบาลเป็นสัดส่วน 1 : 2.12 ในขณะที่จำนวนผู้ช่วยพยาบาลที่มีอยู่จริงต่อจำนวน พยาบาลที่มีอยู่จริงคิดเป็นสัดส่วน 1: 9.26
2. ผลการประเมินความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพยาบาลโดยพยาบาลที่ปฏิบัติงาน
ร่วมกัน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ความพึงพอใจด้านคุณธรรมจริยธรรมใน การปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินความพึงพอใจตลอดหลักสูตร ในการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ในภาพรวมพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พอใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง แต่ยังไม่พึงพอใจ
ในค่าตอบแทนที่ได้รับ ส่วนความคาดหวังและเส้นทางการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างต้องการตำแหน่งที่มีความมั่นคง มีค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ การผลิตผู้ช่วยพยาบาลยังคงควรมีการผลิตต่อไป โดยเป็นแผนการผลิตอัตรากำลัง ควบคู่ไปกับการผลิตพยาบาล เพื่อช่วยให้มีกำลังคนสาขาพยาบาลในการทำงานเป็นทีมทักษะผสม (skill mixed team) เพียงพอต่อความต้องการของระบบสุขภาพ แต่ควรสอดคล้องกับความต้องการจ้างงานภายหลัง สำเร็จการศึกษาด้วย
คำสำคัญ : ความต้องการผู้ช่วยพยาบาล และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
In the past, the practical nurse was filled in the healthcare system for fixing the nursing shortage. The practical nurse assists nursing with a variety of patient care activities and related services necessary in caring for personal needs as well as comfort of patients without applying of clinical decision making while assisting registered nurses (RN) with medical equipment maintenance. A large number of the practical nurse is trained per year; however, some of the workforce of the practical nurse left the health service system. Thus, the health service system is still facing with the shortage of the practical nurse.
This cross-sectional descriptive study aimed to investigate 1) the needs for the practical nurse in five southern border provinces based on the workload, 2) the user's satisfaction to the practical nurses who were trained from Boromarajonani College of Nursing, Yala, 3) the satisfaction of the practical nurses to the training program of Boromarajonani college of nursing, Yala, and 4) the practical nurse job description, problems and barriers in the workplaces, and professional expectation and other benefit. Data were gathered from the registered nurses and the practical nurses of 54 health service units of five southern border provinces including Yala, Pattani, Narathiwat, Songkhla, and Satun province. Five sets of the
self-administrative questionnaires were employed in this study including workload of the practical nurse, the needs for the practical nurse, the user's satisfaction to the practical nurses who were trained from Boromarajonani College of Nursing, Yala, the satisfaction of the practical nurses to the training program of Boromarajonani college of nursing, Yala, and the guideline of focus group interview.
The findings were as follow.
1. The workload of the practical nurse was assessed with questionnaire of 30 items by registered nurses who were supervisors and colleagues. Then, the workload was analyzed for the needs of the practical nurses. The results indicated that the five southern border provinces needed the 401 practical nurses. The ratio between the registered nurse and the practical nurse was 1:2.12 while the current ratio of whole country was 1:9.26.
2. The satisfaction in the practical nurse working evaluated by the registered nurse and colleague was at the moderate satisfaction level while the satisfaction in morality and ethics of the practical nurse was at the high satisfaction level.
3. The satisfaction of the practical nurses to the training program of Boromarajonani college of nursing, Yala, evaluated by the practical nurses trained at Boromarajonani college of nursing, Yala was at a good satisfaction level.
4. The results of the focus group interviews found that most of the practical nurses satisfied with their roles, but they did not satisfy with their salaries. For the professional expectation, the practical nurses needed the secure job, high salary and welfare, and the continuous competency development.
The findings suggested that the health service system still needs the practical nurse education as the registered nurse education. The practical nurse would work with the registered nurse to support a skill mixed working team for solving strategy of the nursing shortage. However, the supply of the practical nurse education should consider the demand for employment after graduation.
Keywords : the need for practical nurse, five southern border provinces