การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า
คำสำคัญ:
Nursing supervision modelบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนงาน 2) การ
ลงมือปฏิบัติการตามแผน 3)การสังเกตผลของการปฏิบัติงาน และ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยและหน่วยงาน จำนวน 43 คน พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติจำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่มศึกษาสภาพปัญหาการนิเทศทางการพยาบาล โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นิเทศ คู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้นิเทศ คู่มือการบันทึกตามกระบวนการพยาบาลและแบบตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล แผนการนิเทศทางการพยาบาล แบบบันทึกการนิเทศทางการพยาบาล แบบสอบถามความรู้ ความพึงพอใจต่อการนิเทศทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ความเชื่อมั่น โดยวิธีคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ. 0.95 แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบตรวจสอบความครบถ้วนของกระบวนการพยาบาล ทดสอบความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความต่างด้วยสถิติ Paired t- test
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณสมบัติของผู้นิเทศทางการพยาบาล 2) กิจกรรมการปฏิบัติการนิเทศ และ 3 ) การประเมินผลการนิเทศ สำหรับประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล พบว่า 1) ผู้นิเทศมีความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (t = 27.07, p < .001) 2) ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจในการนิเทศหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (t = 46.12, p < .001) และ4) ผู้รับการนิเทศมีการบันทึกกระบวนการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลได้อย่างครบถ้วนร้อยละ 100
ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารของกลุ่มการพยาบาลควรนำรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลไปใช้ในการนิเทศระดับหอผู้ป่วยให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการนิเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล
Abstract
This study was conducted to develop and examine the effectiveness of a nursing supervision model of the nursing division in Phrapokklao hospital. The process of the nursing supervision model development was composed of 4 stages, including 1) Planning, 2) Implementation, 3) Observation, and 4) Reflection. The participants of the present study included 43 head nurses of patient units , and 250 registered nurses. The research instrument was composed of list of issues for discussing focused on needs and problems of nursing supervision, Development of nurse project, Development of nurse supervision guideline, Nursing process guideline, Nursing process record audit, Nursing supervision plans, Nursing supervision record, a questionnaire assessing knowledge about nursing supervision for nurse supervisors, a questionnaire assessing satisfaction on nursing supervision, and a record form assessing nursing process implementation. The research instrument assessing was verified for content validity by three experts. The Kuder Richardson formula(KR-20) was used to assess the internal reliability knowledge questionnaire, the coefficient value was 0.95. While the Cronbach's alpha coefficient of the satisfaction and nursing process implementation questionnaire were 0.93 and 0.94, respectively. Data were analyzed by content analysis, percentage, mean, standard deviation, and paired t-test. The results were revealed as follows:
The nursing supervision model of the nursing division in Phrapokklao hospital consisted of 3 components including (1) Responsibility and characteristics of nursing supervisors, (2) nursing supervision activities, (3) nursing supervision evaluation, effectiveness of the model found that :
The nursing supervisors had significantly higher scores of knowledge about nursing supervision after training compared to before training. (t = 27.07, p < .001)The supervisees had significantly higher scores of satisfaction on nursing supervision after implementing this model. (t = 46.12, p < .001) After implementing the model, the nursing process implementation in medical records of patients increased from 100%
The results of this study suggest that the nursing supervision should be implemented in all patient units of the hospital. In addition, the nursing supervision evaluation is also needed in order to solve and improve quality of nursing services continuously.
Keywords : Nursing supervision model