การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะเชิงวิชาชีพพยาบาลอาชีวอนามัย ในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
  • วิกร ตัณฑวุฑโฒ อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]
  • สุรชัย จิวเจริญสกุล อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]
  • พนิต เข็มทอง อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]

คำสำคัญ:

Occupational health nurse, Professional competency standard, Industrial enterprise

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อเพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม 2) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการภาค อุตสาหกรรม และ 3) กำหนดมาตรฐานสมรรถนะเชิงวิชาชีพพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม   วิธีวิจัยมี 3 ขั้นตอนดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 สำรวจการดำเนินงานอาชีวอนามัย และสมรรถนะ พยาบาลอาชีวอนามัย ที่จำเป็นในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมจาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการร่างมาตรฐานสมรรถนะเชิงวิชาชีพพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการภาค อุตสาหกรรม โดยใช้ผลวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 และส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัย  19 ท่านพิจารณา  ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบมาตรฐานสมรรถนะเชิงวิชาชีพพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านพยาบาลอาชีวอนามัย 7 ท่าน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ ด้านนโยบาย  3 ท่าน

ผลวิจัยพบว่าส่วนใหญ่มีการดำเนินงานอาชีวอนามัยเกี่ยวกับนโยบายด้านอาชีวอนามัย มีการ สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายระหว่างปฏิบัติงาน และการตรวจร่างกายพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญ 19 ท่าน เห็นว่าควรมี 10 มาตรฐานสมรรถนะ  และจากการสนทนากลุ่มเห็นว่าควรมี 9 มาตรฐานสมรรถนะ โดยนำสมรรถนะด้านการวิจัยมารวมกับด้านวิชาการ และควรแยกเป็นมาตรฐานสมรรถนะที่สำคัญ ในการปฏิบัติงาน 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการรักษาพยาบาล  2) ด้านการป้องกันโรค  3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 4) ด้านการฟื้นฟูสุขภาพหลังได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย  และ 5) ด้านการสอนและให้คำปรึกษา ส่วนอีก
4  มาตรฐานสมรรถนะเป็นการให้การสนับสนุนหรือทำร่วม กับ สหวิชาชีพอื่น

จากผลวิจัย พยาบาลอาชีวอนามัยควรมีสมรรถนะที่จำเป็น และอบรมเวชปฏิบัติโดยบรรจุใน หลักสูตรพยาบาลอาชีวอนามัย  หรือควรอบรมพยาบาลเฉพาะทางด้านอาชีวอนามัย  4 เดือน และจัดทำคู่มือ สมรรถนะของพยาบาลอาชีวอนามัยสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลในสถานประกอบการ

 

คำสำคัญ : พยาบาลอาชีวอนามัย   มาตรฐานสมรรถนะเชิงวิชาชีพ   สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม

 

Abstract


The three objectives of this study were 1) to investigate the occupational healthcare provision at industrial-sector workplaces, 2) to determine the main competency  for occupational healthcare nurses at  industrial-sector workplaces, and 3) to develop the professional competency standards for occupational healthcare nurses at industrial-sector workplaces in Thailand . The study was carried out in three-stages.  Stage I, occupational  healthcare provision  and the main competency  for occupational healthcare nurses at industrial-sector workplaces :200 management personnel and nurses from  workplaces were surveyed. Stage II, professional competency standards for occupational healthcare nurses at industrial-sector
workplaces were developed by 19 occupational healthcare experts answering a questionnaire from
developing  the results of stage I.  The last stage, the professional competency standards were developed for occupational healthcare nurses, reviewing by a panel of seven experts through a focus group and
scrutinized and  in- depth  interviews of  three experts. The study found that the high level of occupational healthcares provision at industrial-sector workplaces was responsible for policy of occupational health, supporting of equipment for safety prevention during working and yearly health check up. All 19 experts agreed to have 10 competency standards, but there were 9 competency standards from the focus groups. All the important competency standards were divided into 5 main practice competency standards ; 1) health care, 2) prevention, 3) health promotion, 4) rehabilitation, and 5) teaching and consultation. The other four competency standards were supported, and combined research competency with academic competency.
The findings of this study have suggested that: those main competencies should be incorporated into occupational nursing curriculum or the four-month specialist practices training. A professional
competency manual for occupational healthcare nurses should be published to serve as a medium of self-learning and a reference manual for occupational healthcare nurses in industrial-sector workplaces.   

Keywords : Occupational health nurse, Professional competency standard, 
Industrial enterprise

Author Biographies

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน, ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

วิกร ตัณฑวุฑโฒ, อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุรชัย จิวเจริญสกุล, อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พนิต เข็มทอง, อาคาร 3 ชั้น 4 ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.02-579-7143 ต่อ 261, 262 โทรสาร 02-579-0203 E-mail: [email protected]

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย