การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ไวยสุรสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000
  • ศิริพร ชุดเจือจีน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000
  • สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000

คำสำคัญ:

Performance appraisal system, Results-Based Management, Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
เพื่อใช้ในวิทยาลัยบรมราชชนนีสุพรรณบุรี การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการพัฒนาระบบการประเมิน ผลการปฏิบัติงาน การทดลองใช้และการประเมินผล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง
30 กันยายน 2554 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยอาจารย์จำนวน 37 คน ทีมวิจัยได้มีการพัฒนาระบบประเมินผล การปฏิบัติงานตามวิธี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ระบบ การสังเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การตรวจสอบระบบ การทดลองใช้ระบบและการประเมินผลระบบ ผลของการพัฒนาทำให้ได้คู่มือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน ตามตัวตัวบ่งชี้ในระดับวิทยาลัยและระดับบุคคล (2) แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน  และ (3) แบบสอบถามปลายเปิดสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรต่อระบบ การประเมินผลการปฏิบัติงการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเพื่อการเปรียบเทียบ

ผลการวิจัยพบว่าระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับ  โดยปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของ การประเมินเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การประเมิน กระบวนการเป็นขั้นตอนการชี้แจงระบบการประเมินการถ่ายทอดตัวชี้วัด การปฏิบัติงาน จากระดับวิทยาลัยลงสู่ระบบตัวบุคคล การกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และตามงานที่ได้รับ มอบหมายการทบทวนข้อตกลงการปฏิบัติงาน การกำกับติดตามและการสอนงาน เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ประกอบด้วย การพิจารณาผลผลการปฏิบัติงานในระดับวิทยาลัยและระดับบุคคลและการประเมิน ความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลป้อนกลับเป็นการพิจารณา นำผลการประเมินการปฏิบัติงานชี้แจงให้บุคลกรรับทราบ และใช้ในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน

หลังจากทดลองใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี พบว่าระบบการประเมินดังกล่าวมีความเหมาะสมโดยส่งผลให้ระดับความสำเร็จตามตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น เช่น จำนวนเงินสนับสนุนการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย ร้อยละของโครงการที่ดำเนินงานเสร็จตามแผน จำนวนโครงการที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยรวม  นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานในปี 2554 สูงกว่าปี 2553 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.75, p <.01)

คำสำคัญ : การประเมินผลการปฏิบัติงาน    การประเมินแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

 

Abstrac


This research aimed to develop the Performance Appraisal Model (PAM) with the concept of result-based management, implemented in Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi (BCNSP). The research project consisted of the  processes of PAM development, implementation, and evaluation, and it was undertaken from 1 October 2011 to 30 September 2012. The sampling were 37 instructors. There were 6 steps of PAM development included system analysis, system synthesis, system design, system
verification, system implementation, and system evaluation. Research instruments were; 1) the form
recording instructor’s performance according to institution and person performance indicators, 2) the questionnaire of staff’s satisfaction towards developed PAM, and 3) the open-ended questionnaire
regarding instructors’ opinion about developed PAM. Data were analyzed by descriptive statistic and paired t-test comparison.
The finding revealed that the developed PAM concerned 4 elements, including input, process, outcome, and feedback. Firstly, the input of PAM was a consideration of assessment goal, assessment criteria, assessor, assessee, assessment methods, and involved document. Secondly, the process of PAM considered giving orientation, deploying performance indicators from institutional level to personal level, formulating performance indicators of routine and assigned tasks, reviewing staff performance agreement, and monitoring and coaching job performance. Thirdly, the outcome of PAM included the evaluation of institution and staff work performance, and staff’ satisfaction toward PAM. Finally, the feedback of PAM involved the processes that the result of performance appraisal was utilized, such as for staff feedback, human resource development plan, and PAM improvement.
After implemented in BCNSP, the appropriateness of PAM was evident. Regarding institution’s key performance indicators, there was an increase in many indicators, such as research budget, published papers, percentage of completed projects as planned, the number of projects integrated onto curriculum, and overall education quality assurance. In addition, the mean scores of staff satisfaction surveyed in 2011 was significantly higher than that of 2012 (t-2.75, p<.01).

Keywords : Performance appraisal system;  Results-Based Management;
Boromarajonani College of Nursing; Suphanburi


Author Biographies

ลัดดาวัลย์ ไวยสุรสิงห์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

 


ศิริพร ชุดเจือจีน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมืองจ.สุพรรณบุรี 72000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย