ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุภาพ พุทธปัญโญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
  • นิจฉรา ทูลธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
  • นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 111 รณชัยชาญยุทธ ซอย 13 ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

Health Literacy, Weight Loss behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด  เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนัก ก่อนและหลังการทดลอง รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research ) กลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลัง  (One group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่มีดัชนีมวลกาย ( BMI ) ตั้งแต่ 23 กิโลกรัม/ตารางเมตร ขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) กลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ใน 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมความฉลาดทางสุขภาพ กิจกรรมบุคคลต้นแบบลดพุงลดอ้วน กิจกรรมเทคโนโลยีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมการสนับสนุนร่วมใส่ใจลดหุ่น และกิจกรรม Line group The winner รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ Paired samples t – test  

               ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนัก เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <  0.001)  โดยมีความฉลาดทางสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 94.74 พฤติกรรมการลดน้ำหนักในระดับสูง ร้อยละ 100 และ น้ำหนักหลังการทดลองลดลงมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value <  0.001)

               การสร้างความฉลาดทางสุขภาพ การใช้ตัวแบบ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นควรหารูปแบบโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเฉพาะวิชาชีพหรือหารูปแบบการแก้ปัญหาร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Effect of a Health behavior Development Program on Health Literacy and Weight Loss behavior of Overweight Personnel in Roi Et Hospital, Mueang District,Roi Et Province, Thailand

ABSTRACT

          This experimental research aims to study the effects of Health behavior development program on health literacy and weight loss behavior of overweight personnel in Roi Et Hospital, Mueang District, Roi Et Province to compare health literacy and weight loss behavior along with weight before and after the experiment. This is Quasi experimental research with One group pretest-posttest design. The subjects include 38 personnel in Roi Et Hospital who have body mass index (BMI) at least 23 kilogram/square meter; they are selected with Stratified sampling. The samples will join 12-week health behavior development program with 6 activities including health literacy activity, the role model activity for weight loss, technology for participatory discussion activity, body shape care activity and Line group The winner activity. Data were accumulated with questionnaires and weighing before and after the experiment. Data were analyzed with descriptive statistics including percentage, arithmetic mean, standard deviation and analytical statistics such as Paired samples t – test.  

               The result was found that after the experiment, the samples had higher health literacy and weight loss behavior than before the experiment with statistical significance at    (P-value <  0.001). Health literacy was in high level for 94.74% while weight loss behavior was in high level for 100%. Furthermore, post-experiment weight substantially decreased from before experiment with statistical significance at ( P-value <  0.001) 

          Health literacy promotion, model usage, environment supporting health behavior development, social media usage together with social contribution would be the approaches to solve such problem to a certain extent. However, for inclusive result, there should be specifically professional health behavior development program or cooperation of all relevant sectors for mutual resolution by exercising participatory action research.

Author Biographies

สุภาพ พุทธปัญโญ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

 

นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิจฉรา ทูลธรรม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

 อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 111 รณชัยชาญยุทธ ซอย 13 ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

นักเทคนิคการแพทย์ ชำนาญการ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย