ความรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ต่อการดำเนินการ ประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
คำสำคัญ:
knowledge and understanding, Participation, Quality Assuranceบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากรวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามอายุ ตำแหน่ง ตามสายบังคับบัญชา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริง ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 70 คน ประกอบด้วยบุคลากรระดับ ผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา แบบสอบถามการมีส่วนร่วมใน การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์
ความ แปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่าบุคลากร มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูง ระดับคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ความเข้าใจการประกันคุณภาพ การศึกษาของบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขึ้นอยู่กับอายุ และตำแหน่ง งานตามสายบังคับบัญชา คะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจในช่วงอายุระหว่าง 40 – 49 ปี สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี ช่วงอายุระหว่าง 20 – 29 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( t = 2.1750 , p < .05) ตำแหน่งอาจารย์ระดับ ปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าตำแหน่งเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
( t = 1.654 , p < .05) และไม่พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีผลต่อความแตกต่างของคะแนน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมการ ประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างกลุ่มบุคคลากรที่มีอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน และตำแหน่งตามสายบังคับ บัญชาที่ต่างกัน
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรม
การให้ความรู้เกี่ยวการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรโดยคำนึงถึงช่วงอายุ ระยะเวลาปฏิบัติ และตำแหน่งสายบังคับที่แตกต่างกัน ให้มีความเหมาะสม ซึ่งจะสามารถเน้นการส่งเสริมความรู้แก่บุคลากร ในช่วงเริ่มต้นอายุของการทำงาน จึงจำเป็นที่ต้องมีระบบสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน วิทยาลัยต้องสร้างองค์ความรู้และความตระหนักตั้งแต่แรกเริ่มแก่บุคลากร ที่เข้าทำงานใหม่ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกระบวนการประกันคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานที่แท้จริงของบุคลากรทุกระดับต่อไป
Abstract
This descriptive research aimed to measure levels of knowledge, understanding, and participation in Quality Assurance Operation comparing between factors of age, work position, and years of working among personnel at Boromarajonani College of Nursing, Saraburi. There were 70 participants, which were nursing instructors, administrators, and clerical staff. Data were collected during the academic year 2010 using the Demographic & Work Data, and the Quality Assurance Questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics and One Way ANOVA.
The result showed that the overall means of knowledge, understanding, and in the quality
assurance operation of school personnel were at high level. Factor of age and job position were statistical significantly associated with the overall mean of knowledge and understanding in the quality assurance operation, but not years of working (p < .05). The overall means of knowledge and understanding of staff in the group of 40-49 years old was higher than those 20 - 29 years old (t = 2.1750, p < .05). The nursing instructors had higher scores of knowledge and understanding than the clerical staff (t = 1.654, p < .05). Among the clerical staff, although the score on participation in quality assurance operation was high, there was no significant different among different among factor of age, years of working, and job position.
It is recommended that finding could be used as a basis for promoting appropriate knowledge, of quality assurance for personnel with regards to age, period of practice, and where the different lines of management at the early years of work needs which needs to get knowledge support system, clear understanding about the Quality Assurance. The college must develop the knowledge and the awareness at the beginning of the personnel work commencement to be able to understand which important to quality assurance processes. This will lead to a culture of actual work quality of the personnel.