วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
safety culture, patient safety, registered nursesบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นผลลัพธ์การบริการที่มีคุณภาพและเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของการได้ การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยมุ่งเน้นการสร้างความ ตระหนักแก่บุคลากรเพื่อให้เห็นความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยและการพัฒนา วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ร่วมประชุมวิชาการ เรื่องการ จัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจำนวน 90 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และ
ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง อายุ 31-35 ปี ร้อยละ 22.20 สังกัด โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 65.60 ระยะเวลาในการทำงานในโรงพยาบาล > 21 ปี ร้อยละ 25.90 ระยะเวลา ในการทำงานในหน่วยงานที่กำลังทำงานอยู่ ในช่วงระยะเวลา 6-10 ปี ร้อยละ 35.60 ระยะเวลา ในการทำงานชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 40-59 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ร้อยละ 73.30 ตำแหน่งปัจจุบัน เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการร้อยละ 72.20 ให้การพยาบาลโดยตรง ร้อยละ 96.70 และสังกัด โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ร้อยละ 76.70 วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.55,=0.33) ด้านความถี่ของการรายงานอุบัติการณ์ กรณีมีการกระทำผิดพลาด (Mistake) เกิดขึ้นและผู้ป่วยเสียชีวิต รายงานทุกครั้งร้อยละ 81.10 ระดับความปลอดภัยผู้ป่วยในหน่วยงาน อยู่ในระดับยอมรับได้ (Acceptable) ร้อยละ 61.10 และความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย ผู้ป่วย โดยรวมในระดับมาก ( = 3.59,=0.46)
ผลการวิจัยนี้ผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้บริหารการพยาบาล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในด้านต่างๆ ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับ โรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Abstract
Patient safety has been defined as a service outcome and a significant indicator of hospital
accreditation (HA). The development of patient safety culture aims to increase concerns of patient safety among health care providers.
This descriptive research aimed to study nurses' perception of patient safety culture and the development of this culture. The population of this study included 90 nurses who participated in the conference on patient safety culture. A questionnaire of patient safety culture and the development of the culture was used for data collection. Both content validity index were 0.95 and 0.98 and the reliability were 0.85 and 0.92. Descriptive statistics was used for data analysis.
Results of this study showed that 22.20 % of the population included registered nurses aged between 31-35 years old and 65.60 % of these worked in community hospitals. 25.90 % of the population had more than 21 year working experiences as a registered nurse. There was 35.60 % who had been working in the current hospital between 6-10 years, with a working time of 40-59 hours per week (73.30 %). There were 96.70 % of the population took action in direct care and 76.70% worked at the hospitals certified as accredited hospitals. Although overall scores of nurses' perception on patient safety culture were in a high level (= 3.55,=0.33), the incidence of mistaken practices and death among patients were always reported (81.10 %). 61.10 % of the population perceived that a level of patient safety was in an acceptable level. In addition, the overall scores of nurses' perception on the development of patient safety culture was also in a high level ( = 3.59,=0.46).
Findings from this study suggested that the hospital and nurse administrators should develop and enhance patient safety culture both at a unit level and an organizational level in order to increase quality of the hospital.