ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
คำสำคัญ:
early smoking stage, factors related to smoking, male students at lower secondary schoolบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงบรรยายแบบสหสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้น ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การตัดสินใจด้วยตนเองใน การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท การถูกเพื่อนชักชวนให้สูบบุหรี่ และการคาดการณ์ อัตราการสูบบุหรี่ กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2553 จำนวน 338 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีอาศัยความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน ในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการตัดสินใจ ด้วยตนเอง ในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และหาความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (a = 0.75 – 0.91) การรวบรวมข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา ตามระดับการวัดของข้อมูล และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษากับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้น โดยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Binary Logistic Regression)
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายกว่าหนึ่งในสามของนักเรียนชายทั้งหมดมีการสูบบุหรี่ระยะเริ่มต้น (ร้อยละ 38.76) สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชาย ได้แก่ การถูกเพื่อน ชักชวนให้สูบบุหรี่ (OR=2.94) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ต่ำ (OR=2.31) ทัศนคติที่เห็นด้วยกับการสูบบุหรี่ (OR=2.16) และการมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ (OR= 2.14) สำหรับปัจจัย ที่ไม่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้น ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค้าในตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การตัดสินใจด้วยตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของผู?ปกครอง และการคาดการณ์ อัตราการสูบบุหรี่ ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโปรแกรมป้องกันการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียน ชายต่อไป
Abstract
This correlational descriptive research aimed to examine early smoking stage, and to investigate: 1) the relationship between attitude toward smoking, 2) self-efficacy in smoking avoidance, 3) self-esteem, 4) academic achievement, 4) self-determination in smoking avoidance, 5) parental smoking, 6)
peer smoking, 7) offering of smoking by friends, 8) prevalence estimation of smoking situation, and 9) early smoking stage among male students at lower secondary schools under the jurisdiction of The Trat
Education Service Area Office. A multistage random sampling method was used to recruit 338 samples who were male students in the academic year 2010. The questionaires consisted of demographic form, attitude toward smoking, self-efficacy in smoking avoidance, self-esteem, and self-determination in
smoking avoidance. Content validity and language accuracy of the instruments were approved by five experts. Cronbach's alpha coefficients used to estimate the internal consistency reliability for each of the scales were acceptable (a = 0.75 - 0.91). The data were collected from May to June, 2010. Descriptive statistics and Binary Logistic Regression were employed to analyze the data.
The results of this study revealed that more than one-third of male students were in early smoking stage (38.76%). The signification factors related to early smoking stage of the male students were offering of smoking by friends (OR=2.94), low self-efficacy in smoking avoidance (OR=2.31), agreement
of attitude towards smoking (OR=2.16) and peer smoking (OR= 2.14). Therefore, it can be concluded that these results contribute to more understanding of early smoking stage among male students at lower secondary schools. These findings then will be useful to develop effective primary prevention programs to protect early smoking stage of male students.