การพัฒนาแบบวัดความสามารถการปฏิบัติการพยาบาล วิชาหลักการและเทคนิคพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นางวิรดา อรรถเมธากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

Clinical Performance Assessment Tool, Nursing Student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาคุณภาพแบบวัดความสามารถการปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชา หลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยจัดให้มีการสอบแบบ OSCE ( Objective Structure Clinical
Examination) ซึ่งเป็นสถานการณ์จำลองที่คล้ายจริงมากที่สุด (Simulation Technique) เพื่อประเมินทักษะ การปฏิบัติการพยาบาลที่จำเป็น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถการปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 9 ฉบับ

                ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความสามารถการปฏิบัติการพยาบาลมีจำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย  การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์  การทำแผล  การให้ออกซิเจน การดูดเสมหะ การวัดสัญญาณชีพ  การฉีดยา  การสวนปัสสาวะ การใส่สายและให้อาหารทางสายยาง และการเตรียมตัวเข้าห้องผ่าตัด คุณภาพของ
แบบวัดความสามารถปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีดังนี้ 

                1)            คุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความสอดคล้อง (Index of congruency) ระหว่าง 0.93-0.98                   2) คุณภาพด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์(Concurrent Validity) ทดสอบโดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่ามีค่าระหว่าง  .22-.60 และ 3) คุณภาพด้านความตรงเชิงจำแนก พบว่าแบบวัด ความสามารถปฏิบัติการพยาบาลสามารถจำแนก นักศึกษากลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  และ4) ความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้ง  9 ฉบับ  มีค่าระหว่าง .70 – .94

 

Abstract

This research aimed to study the quality of nursing performance tool for using with 78 2nd year nursing students studying the subject of Basic Principle Concepts and Nursing Technique. The Objective Structure Clinical Examination (OSCE) as simulation technique were has been used as a means to assess 9 skill performances of nursing practice: 1) cleaning reproductive organs, 2) dressing wounds, 3) providing oxygen, 4) performing suction, 5) measuring vital signs, 6) injecting drugs, 7) catheterizing urine, 8) penetrating NG tube and feeding, and 9) preparing for operations. Scoring scales for each item of performance were divided into 3 levels; excellent, pass, and fail. Content validity was evaluated by nursing experts. Criterion related validity was tested by using Pearson's coefficient. Discrimination validity was examined by independent t-test and Mann-Whitney test. Finally, reliability was tested by using Cronbach's alpha coefficients.

It was found that content validity, criterion related validity and internal consistency were .93 - .98 , .22 - .60 (P < 0.05) and .70 - .94 respectively. This tool was able to statistical significantly difference between the high and low grade group (p< .005).

เผยแพร่แล้ว

2012-02-10

ฉบับ

บท

New Section Title Here