การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ผู้แต่ง

  • Dr.Rujira Rojjanaprapayon NIDA
  • นางสาววิภาวิน โมสูงเนิน กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ. นนทบุรี โทรศัพท์/โทรสาร 02 590 1623

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาเรื่อง การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสารสุขภาพของกระทรวง สาธารณสุข และศึกษารูปแบบการสื่อสารสุขภาพ การกำหนดประเด็นเนื้อหา วิธีการ  ช่องทางการสื่อสาร และกลุ่มเป้าหมาย ของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

                การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ แบบ เจาะลึกบุคคลผู้ดำเนินการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 10 คน และการศึกษาเอกสาร (Documentary Analysis) เกี่ยวกับการสื่อสารด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 16 เรื่อง สรุปผลโดยอาศัยวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและกรอบแนวคิด ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสารในภาวะวิกฤต ทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมิติทางวัฒธรรม และนำมาประมวลผลสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยในประเด็น สำคัญลำดับตามวัตถุประสงค์ ของการวิจัย

 

ผลการวิจัย

                1. การจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข มีการตั้งคณะทำงาน ศูนย์ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 (War room) โดยให้มีหน้าที่ในการกำหนดประเด็นเนื้อหาองค์ความรู้ที่จะสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งมีแหล่งข้อมูลที่สำคัญคือ องค์การอนามัยโลก (WHO) หน่วยงาน CDC ของสหรัฐอเมริกา และองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยมีคณะทำงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์ ดำเนินการจัดการเรียบเรียงเนื้อสารที่ผ่านการอนุมัติจากคณะทำงาน War room ให้เป็นข้อความหรือเนื้อสาร
ที่ เข้าใจง่าย ก่อนจะกำหนดสื่อและช่องทางเพื่อการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ต่อไป

                2. รูปแบบการสื่อสารสุขภาพ การกำหนดประเด็นเนื้อหา วิธีการ  ช่องทางการสื่อสาร และกลุ่ม เป้าหมาย กระทรวงสาธารณสุขบูรณาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง โดยกำหนดประเด็นเนื้อหา การสื่อสารเป็นสองส่วน คือ (1) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานการณ์การระบาดของโรค และ (2) การสื่อสารความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ และอนามัยส่วนบุคคล เพื่อการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สำหรับตนเอง ครอบครัว และสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วไป และความรู้เรื่องการดูแล รักษาผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

            ประเด็นปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องโรคที่
เพียงพอสำหรับการสื่อสารในระยะเริ่มต้นของการระบาด ทั้งนี้เนื่องจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นโรค อุบัติใหม่ แต่หลังจากการระบาดเข้าสู่ระยะที่สอง กระทรวงสาธารณสุขเริ่มมีทิศทางในการจัดการกับภาวะวิกฤต ดังกล่าวมากขึ้น โดยมีความพยายามในการปรับแผนการดำเนินงานด้านการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะว่า กระทรวงสาธารณสุขควรมีการจัดทำแผนการสื่อสารในภาวการณ์ระบาดของโรคที่ชัดเจน เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยให้ครอบคลุมทั้งแผนการดำเนินงานและแผนการใช้
งบประมาณ

ABSTRACT

This study aimed to investigate: 1) the information management of the public health
communication in response to the 2009 influenza outbreak by the Public Health Ministry of Thailand, and 2) the forms of communication, the scope of the communication, the communication approaches, the channels of
communication and the target audience of the communication involved in the public health communication in response to the 2009 influenza outbreak by the Public Health Ministry of Thailand.

The study was a qualitative research. Data collection included intensive interviews with ten individuals involved in the operation of the public health communication, and the documentary analysis of 16 related
documents. The data were analyzed and inductively concluded by using the frameworks of communication
theories, theories of communication in crisis, theories of public health communication, and theories related to cultural dimension.

 

The results of the study showed that:

The information management of the public health communication, in response to the 2009
influenza outbreak, by the Public Health Ministry of Thailand, was by committee setting up or the war room of the 2009 influenza outbreak. The committee was in charge of the scope of the communication. The information used in the communication was provided by the World Health Organization (WHO), the CDC of the United States, and 2009 influenza experts. There was a public health communication team working on information approved by the committee or the war room and adjusting the approval information into media for the subsequent public
communication.

The Public Health Ministry of Thailand integrated all the channels of communication. The scope of the public health communication comprised of to main issues: 1) the situation of the 2009 influenza outbreak, and 2) the information about health behavior and personal hygiene related to the prevention of the 2009 influenza. The target audience of the public health communication included the general public and health care practitioners.

Major problems found were due to the lack of information about the influenza at the beginning of the outbreak. However, the Public Health Ministry was able to manage the public health communication of the 2009 influenza crisis more effectively during the second 2009 influenza outbreak. It was evident that the Ministry's paid an effort to develop continued its public communication. The finding suggested that the Public Health Ministry of Thailand should be prepare for an outbreak plan including budget and operations plan.

เผยแพร่แล้ว

2012-02-09

ฉบับ

บท

New Section Title Here