การประเมินผลการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

คำสำคัญ:

Evaluation, Evaluation of Teaching, Family and Community Nursing Practicum

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2 2) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2  และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2 จำนวน 6 คน ครูพี่เลี้ยงที่ควบคุมการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2 ในชุมชน จำนวน 6 คน นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 97 คน และประชาชนในชุมชนที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 4 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbarch’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.86 2) แบบประเมินความพร้อมแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 3) ประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ที่ใช้ชุมชนเป็นหลักมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93  4) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและชุมชนต่อการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 5) แนวคำถามในการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และแนวทางจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการประเมินที่เกี่ยวข้องโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเป็ นค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการศึกษาใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่

ระดับมาก ผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ที่ใช้ชุมชนเป็นหลักมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพร้อมแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและชุมชนต่อการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนและข้อเสนอแนะในแต่ละด้านมีดังนี้ 1) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม (Context) คืองานที่มอบหมายให้นักศึกษามีจำนวนมาก แต่ระยะเวลาการฝึกน้อย ข้อเสนอแนะคือควรมีการลงฝึกปฏิบัติในพื้นที่เดิมของอาจารย์นิเทศทำให้อาจารย์มีข้อมูลชุมชนเดิมอยู่แล้วและจะได้รับความร่วมมือจากชุมชน และช่วยทำให้การดำเนินการฝึกปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็ว 2) ปัญหาด้านปัจจัยนำเข้า (Input) คือภาระงานพี่เลี้ยงแหล่งฝึกมีมากทำให้มีเวลาดูแลนักศึกษาน้อย แนวทางในการแก้ปัญหาคือ 1) พี่เลี้ยงแหล่งฝึกควรดูแลใกล้ชิดกับนักศึกษา และพร้อมให้คำปรึกษา  แหล่งฝึกควรมีการเพิ่มความรู้ แนวทางคัดกรอง KPI ต่างๆ ให้นักศึกษาทราบ เพื่อประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นักศึกษาควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติงานในด้านความรู้ทางทฤษฎี ฝึกให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ วางแผนการทำงาน 3) ปัญหาด้านกระบวนการ (Process) คือการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ แนวทางในการแก้ปัญหาคือ ควรมีการสร้างการมีส่วนร่วมในด้านการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน โดยต้องมีการวางแผนโครงการที่จะดำเนินการ ส่งแผนงานล่วงหน้าให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และควรมีการประสานงานกับแหล่งฝึกให้ชัดเจน ทั้งการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการและใช้หนังสือราชการ ตลอดจนควรมีการประสานงานไปยังผู้นำหมู่บ้าน รวมทั้งการขอความร่วมมือจาก อสม. ในพื้นที่

คำสำคัญ : การประเมินผล, การจัดการเรียนการสอน, วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน

 

 

Evaluation of Teaching in Family and Community Nursing Practicum 2

Abstract

                The aims of this research are  1) evaluating the managements of Teaching in Family and Community Nursing Practicum 2  2) studying the problems and needs of the managements of Teaching in Family and Community Nursing Practicum 2 and 3) studying the guidelines for the management of Teaching in Family and Community Nursing Practicum 2. The samples consist of the 6 instructors of Family and Community Nursing Practicum 2, the  6 mentors that practice control the Teaching in Family and Community Nursing Practicum 2, the 4th year,97 nursing students and the 26 persons  in the practice setting. The research tools are two sets of questionnaires. These are 1) the evaluating form of this program teaching management, Cronbarch’s Alpha Coefficient is 0.86  2) the evaluating form of practice setting preparedness, reliability is 0.92  3) the evaluating form of nursing student satisfaction to the teaching quality of the nursing instructors by community based teaching model, reliability is 0.93  4) the evaluating form of the persons and community to nursing student in practice,reliability is 0.90 5) the question guidelines  of the group discussion for studying the problems, needs and teaching management guidelines.The data analysis, the evaluating management of teaching and related evaluation are used by computer program. These are Means and Standard deviation. The problems, needs and suggestions are used by context synthesis.

                Results.The evaluation of program teachingmanagement is high level. The evaluation of teaching efficacy of nursing instructors is high level. The evaluation of practice setting preparedness is high level. The evaluation of satisfaction of persons and community to nursing student in practice is high level. The problems of teaching management are the environment (context), input and process. The suggestions, in the Context, might be practice in the same setting, because the proper data, cooperation of people in community, and to be help the nursing students for well practice. In the Input, the mentors might be closely care the nursing students and alert for counseling them on adding knowledge,  screening guidelines, Key Performance Indicator(KPI), though to help them to collect the data. The students might be prepared in theory,responsibility, working plan before practice. 3) In the Process, promote cooperation of local government and community for support the budget. And might be have the project planning to the local government before practice. Cooperation of the practice setting, the local government, the community leader and the health volunteer are needed.

Keyword: Evaluation, Evaluation of Teaching, Family and Community Nursing Practicum

Author Biography

พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย