ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • มัฎฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Instructional Model, Analytical Thinking, Nursing students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของของรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 26 จำนวน 20 คน ทำการสอนในรายวิชาการพัฒนากระบวนการคิด จำนวน 6 ชั่วโมง เก็บข้อมูลการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการสอน ด้วยแบบสอบถามพัฒนาการคิดวิเคราะห์ จำนวน 8 ข้อ และแบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์แผนการสอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนสอนและหลังการสอน ด้วยสถิตินอนพาราเมตริก  Wilcoxon Singed Ranks test  สรุปผลการวิจัยดังนี้

(1)       ได้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต โดยสังเคราะห์ วิธีสอนแบบการบรรยาย (Lecture) การอุปนัย (Inductive Instructional Model) รูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model) วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) และการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)  ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การสอน สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการสอนและการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนการสอน มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างมโนทัศน์ ขั้นที่  2 การตีความและสรุปข้อมูล ขั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้ข้อสรุป

(2)   ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการใช้วิธีการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต สูงกว่าก่อนการสอน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตในภาพรวมอยู่ในระดับดี

ข้อเสนอแนะ ควรเตรียมนักศึกษาให้มีการคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติพยาบาลและการเตรียมตัวเพื่อการสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการนำรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอื่นๆ

คำสำคัญ: การคิดวิเคราะห์  นักศึกษาพยาบาล รูปแบบการสอน

The Effect of Instructional Model for Analytical Thinking of Nursing students

Abstract

The purpose of action classroom research were to compare the analytic thinking skills before and after by using instructional model for analytic thinking. The experimental group was consisted of 2 of juniors of nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Surat-Thani, Thailand. The research tools consisted of lesson plan, the analytic thinking skills questionnaire. The data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, Wilcoxon Sign ranks test.    

          Results of the study are as follow: 1) The instructional Model for analytic thinking in nursing care of persons with mental health problems consisted of 4 component : objective, content, mental health problems area, instructional process , measurement and evaluation. 2) The mean scores of the analytic thinking skills after teaching by instructional model for analytic thinking were higher than before teaching with statistically significant difference.(p<.05)      

                The findings suggested that nursing students prepared on analytic thinking skills in nursing care of persons with mental health problems

Keywords: Instructional Model; Analytical Thinking; Nursing students

Author Biographies

มัฎฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ(ด้านการสอน)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้  084-1872080

หรือ 077-287816 ต่อ 343

สุทธานันท์ กัลกะ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ที่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(ด้านการสอน)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้  086 -6907993

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย