ผลการใช้แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก และปฏิบัติการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม
คำสำคัญ:
maternity assessment, antepartum period, intrapartum period, post partum periodบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกและรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 75 คน ที่ฝึกรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกและรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์ระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ 2) แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะคลอด และ 3) แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะหลังคลอด ผ่านการตรวจสอบค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเนื้อหา (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญได้เท่ากับ .89, .86 และ .80 ตามลำดับ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) .81, .78, และ .79 ตามลำดับ และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการใช้แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) .84, .81, และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา อาจารย์ และอาจารย์พี่เลี้ยง มีความคิดเห็นต่อการใช้แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระคละอด และหลังคลอดโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า แบบรวบรวมข้อมูลมารดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกและรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์ เพื่อพัฒนาความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้เป็นอย่างดีการรวบรวมข้อมูลมารดาอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการปฏิบัติการพยาบาลและสามารถใช้ประเมินผลการเรียนการสอนทั้งตัวนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนได้
คำสำคัญ: แบบรวบรวมข้อมูลมารดา ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด
The Effect of using Maternity Assessment during Antepartum Intrapartum and Post partum period in the Maternity and Newborn Nursing Practicum and Midwifery Practicum at Boromarajonani College of Nursing Nakhon Phanom
This descriptive research aimed to study the effect of using maternity assessment during antepartum intrapartum and post partum period in the Maternity and Newborn Nursing Practicum, and Midwifery Practicum. Purposive sampling technique was used for collecting data. The samples were 75 junior nurse students at Boromarajonani College of Nursing Nakhon Phanom, Nakhon Phanom University from June to September 2013. Research instrument including; 1) maternity assessment during antenatal period that were tested for Index of Item Objective Congruence (IOC) by expert that yield .89, .86, and .80 respectively. 2) The Nurses’ perceived of using maternity assessment during antepartum intrapartum and post partum period which Cronbach’s coefficient alpha were .81, .78, and .79 respectively. 3) The instructors and mentors perceived of using maternity assessment during antepartum intrapartum and post partum period which Cronbach’s coefficient alpha were.84, .81, and .79 respectively. Data analysis used frequency, mean, and standard deviation. Research results was found; Both Junior nurse students and instructors, mentors perceived of using maternity assessment during antepartum intrapartum and post partum period at the highest level.
In the conclusion, The maternity assessment during antepartum intrapartum and post partum period can apply to develop learning outcome of Maternity and Newborn Nursing Practicum, and Midwifery Practicum. Systematic collecting data not only good for nursing practice but also can be used for evaluate both student nurses and instructor.
Keyword : maternity assessment; antepartum period; intrapartum period; post partum period