การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
E-Learning Course Ware Media, Elderly Nursing, Nursing Licensing Examinationบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 94 คนที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุฯ
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุฯ กลุ่มตัวอย่างศึกษาสื่อที่พัฒนาขึ้น และทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังศึกษาสื่อ และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ Wilcoxon Signed Rank test และ One sample t-test
ผลการวิจัยพบว่าสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุฯ
มีประสิทธิภาพ 87.59/89.97 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และนักศึกษามีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุฯสูงกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรนำสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุฯไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในปีการศึกษาต่อไป
คำสำคัญ : สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ การพยาบาลผู้สูงอายุ การสอบขึ้นทะเบียน
Abstract
This One group pretest - posttest design aimed to 1) develop and assess
the e-Learning’s efficiency in title of “Elderly Nursing (BNS 405) on student’s readiness for nursing licensing examination” 2) compare achievement of the students before and
after using the e-Learning 3) examine satisfaction of the students toward the e-Learning. The subjects comprised 94 undergraduate nursing students who studied in the first and second semester of the academic year 2013. The instruments used in this research
included 1) e-Learning Courseware titled Elderly Nursing (BNS 405) for student’s readiness of nursing licensing examination, 2) Pretest and Posttest, 3) Satisfaction Questionnaire toward the e-Learning courseware. The students were asked to use the developed courseware. Pre-Post-tests regarding Elderly Nursing were carried out before and after the program including the Satisfaction Questionnaire. Data were analyzed by using
descriptive statistics, Wilcoxon Signed Rank test and one sample t-test.
The results indicated that the e-Learning of Elderly Nursing has the efficiency at a 87.59/89.97 level which is higher than the set criteria 80/80. The posttest scores were significantly higher than those of the pretest score (p <.001). Moreover, the satisfaction toward the e-Learning was significantly higher than 80 % (p < .001). Further using
the e-Learning in title of Elderly Nursing (BNS 405) for student’s readiness of nursing
licensing examination was suggested in the next academic year.
Keywords : E-Learning Course Ware Media, Elderly Nursing, Nursing Licensing Examination