การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการคงอยู่ในงาน ของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • รัชนีพร ไชยมิ่ง กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
  • อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ. พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • วราภรณ์ บวรศิริ สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ. พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, แรงจูงใจ, การคงอยู่ในงานStrategy, Motivation, Job Retention

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และ 2) พัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก และที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 30 แห่ง จำนวน 210 คน  ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารและอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ที่รับผิดชอบงานหรือมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหารงานบุคคล การพัฒนาอาจารย์ การจัดทำแผนกลยุทธ์ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก แบบสัมภาษณ์ปัจจัยสำคัญที่มีความจูงใจต่อการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก  และแบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจใน
การคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงทำการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1.    องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีจำนวน 7 องค์ประกอบ 60 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรร่วมกันได้ร้อยละ 74.010 ประกอบด้วย  1) ด้านการนำองค์กรของ
ผู้บริหาร มี 17 ตัวแปร  2) ด้านผลตอบแทนและความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน มี 16 ตัวแปร  3) ด้านนโยบายการบริหารขององค์กร มี 8 ตัวแปร  4) ด้านลักษณะงานและการทำงาน มี 6 ตัวแปร  5) ด้านสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่เอื้อต่อการทำงาน มี 6 ตัวแปร  6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต มี 4 ตัวแปร  และ 7) ด้านทักษะการทำงานและสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน มี 3 ตัวแปร
2.    กลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  มีจำนวนรวม 11 กลยุทธ์ 42 แนวปฏิบัติ โดยเป็นกลยุทธ์ระดับสถาบัน 4 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ระดับวิทยาลัย 7 กลยุทธ์  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) กลยุทธ์ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานขององค์กร มีจำนวน 4 กลยุทธ์ 10 แนวปฏิบัติ 2) กลยุทธ์ด้านการพัฒนาศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และผลงานทางวิชาการของอาจารย์  มีจำนวน 5 กลยุทธ์ 24 แนวปฏิบัติ  และ 3) กลยุทธ์ด้านการเสริมสร้างค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กร โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดความภักดีต่อองค์กร  มีจำนวน 2 กลยุทธ์ 8 แนวปฏิบัติ


คำสำคัญ : กลยุทธ์  แรงจูงใจ  การคงอยู่ในงาน

 

Abstract


This study aimed to 1) explore and analyze factors influencing motivation for job retention among faculty members with a doctoral degree, working in nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health and 2) develop strategies enhancing motivation for job retention. The subjects were 210 individuals recruited from faculty members who worked at 30 Praboromarajchanok Institute’s nursing colleges, and pursuing in/or graduated with a doctoral degree. In addition, 13 experts, administrators, and faculty members in education administration, human resource development, and strategic management were invited to participate in the study. The data were collected through the questionnaires on factors influencing motivation for job retention, an in-depth interview form on critical factors influencing motivation for job retention, and evaluating form on an appropriateness of obtained strategies. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation, content
analysis and the exploratory factor analysis (EFA) with Varimax rotation.
The findings of this study can be summarized as follows;    
1.    Factors influencing motivation for job retention among doctoral faculty member in nursing colleges under Praboromarajchanok Institute were associated with 7 factors (60 parameters), accounting for 74.01% of total variance. Those factors included
1) Leadership of the director  (17 parameters), 2) Benefit and career development
(16 parameters),  3) Policy management (8 parameters), 4) Responsible jobs and tasks
(6 parameters), 5) Working environment and resources (6 parameters), 6) Facilities for living (4 parameters), and 7) Working skills and collegiality relationship (3 parameters).
2.    Motivation for job retention among doctoral staff in nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, 11 strategies and 42 regulations were identified. Four strategies should be done at an institute level, meanwhile, the other seven should be implemented at a college level. The 11 strategies can be grouped into three main strategies, including 1) Policy management and mission consisted of 4 strategies
10 regulations  2) Development of person’s expertise and academic publishing consisted of 5 strategies 24 regulations, and 3) Promoting organizational value/culture emphasizing ethics and building motivation for organization commitment, consisted of 2 strategies
8 regulations.


Keywords : Strategy,  Motivation,  Job Retention




Author Biographies

รัชนีพร ไชยมิ่ง, กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาอุดมศึกษา  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์, สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ. พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ผู้ช่วยศาสตราจารย์   คณะครุศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วราภรณ์ บวรศิริ, สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ. พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

รองศาสตราจารย์   คณะครุศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย