ผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปาลิดา นราวุฒิพร โรงพยาบาลนครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
  • ศากุล ช่างไม้ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 ม.7 ถ.พระประโทณ-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3422-9480 โทรสาร 0-3422-9499
  • สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 ม.7 ถ.พระประโทณ-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3422-9480 โทรสาร 0-3422-9499

คำสำคัญ:

การพยาบาลแบบสนับสนุน ให้ความรู้, การป้องกันการติดเชื้อ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้อง, Supportive-Educative Nursing System, Prevention of Peritoneal Dialysis Related Infections, Chronic Kidney Disease Patients Receiving Continuous Ambulator

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ที่รับการรักษาที่งานล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลนครปฐม ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ตามกรอบแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (Orem, 2001) ในการป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้อง ประกอบด้วย การให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ การให้คำแนะนำชี้แนะ การสนับสนุนด้านต่างๆ และการสร้างสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ทางโภชนาการและความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการติดเชื้อ แบบประเมินการติดเชื้อแผลช่องทางออกและการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินความรู้ทางโภชนาการและความรู้ในการดูแลตนเองโดยใช้สูตร คูเดอร์ ริชาร์ดสัน มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และ 0.79  แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 และเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการติดเชื้อ แบบประเมินการติดเชื้อแผลช่องทางออกและการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง หาความเที่ยงของแบบสังเกตด้วยวิธีการใช้ผู้เก็บข้อมูล 2 คน มีค่าเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Wilcoxon,s Signed- Ranks Test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับการดูแลตามระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ทางโภชนาการ ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง สูงกว่าก่อนได้รับการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง ดีกว่าก่อนได้รับการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และไม่มีภาวะแทรกซ้อนด้านการติดเชื้อ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ สามารถส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี


คำสำคัญ : การพยาบาลแบบสนับสนุน ให้ความรู้, การป้องกันการติดเชื้อ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไต
              ทางช่องท้อง

 

Abstract


This study was a quasi-experimental research design with one group, pretest and posttest. It aimed at studying the outcomes of supportive-educative nursing system for prevention of peritoneal dialysis related infections in chronic kidney disease (CKD) patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis at Nakhon Pathom Provincial
Hospital.  The twenty chronic kidney disease patients were selected as samples by
purposive sampling. They received a supportive-educative nursing system based on Orem’s supportive-educative nursing system (Orem, 2001) in order to prevent them from peritoneal dialysis-related infections. Data were collected from November 2014 to
February 2015.
The instruments used in the experimental process included the supportive-educative nursing system for
prevention of peritoneal dialysis-related infections. It was composed of educative and suggestive materials and supportive preventing infection and adjusting an
environment. The research instruments used for data collection were composed of
the demographic data record form, nutritional knowledge and self-care knowledge to prevent infection assessment form, nutritional self-care behaviors and self-care behaviors on infection prevention assessment form, rating infections by ISPD exit site scoring and ISPD peritonitis diagnosis and a set of interview question guidelines. The aforementioned was examined for content validity by five professional experts and further examined for reliability by using the Kuder-Richardon formula for reliability values equal to 0.92 and 0.79. For the nutritional self-care behaviors, Cronbach’s Alpha Coefficient was tested for reliability values equal to 0.74, and the reliability of the observation of self-care
behaviors on infection prevention by inter-rater reliability was 0.99.  Data were analyzed by descriptive statistics, and Wilcoxon,s Signed-Ranks Test since the data were not normal distribution with the Kolmogorov-Smirnov test.
According to the findings, after being provided with care under
the supportive-educative nursing system to prevent peritoneal dialysis-related infections among patients with chronic kidney disease, the sample group had more knowledge about nutrition and self-care aimed at preventing peritoneal dialysis-related infections than before the experiment with statistical significance at 0.01. The sample group also had better consumer behaviors, and self-care behavior for prevention of peritoneal
dialysis-related infections than before participating in the research with statistical
significance at 0.01. In addition, no infection-related complications were found. Thus,
the research shows that supportive-educative nursing system can promote proper
self-care knowledge and behaviors enabling patients to control and prevent potential complications for happiness and a good quality of life.


Keywords : Supportive-Educative Nursing System,  Prevention of Peritoneal Dialysis  Related Infections,  Chronic Kidney Disease Patients Receiving Continuous  Ambulatory Peritoneal Dialysis




Author Biographies

ปาลิดา นราวุฒิพร, โรงพยาบาลนครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนครปฐม

ศากุล ช่างไม้, มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 ม.7 ถ.พระประโทณ-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3422-9480 โทรสาร 0-3422-9499

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  มหาวิทยาลัยคริสเตียน

สมพันธ์ หิญชีระนันทน์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 ม.7 ถ.พระประโทณ-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3422-9480 โทรสาร 0-3422-9499

รองศาสตราจารย์  มหาวิทยาลัยคริสเตียน

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย