ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องระบบโครงร่างของร่างกายรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000
  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000
  • เบญจวรรณ ช่วยแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

คำสำคัญ:

Peer-Assisted Learning, Anatomy and Physiology, Human skeletal system, happiness in learning

บทคัดย่อ


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอน
โดยใช้วิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเรื่องระบบโครงร่างของร่างกาย ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ภาคการศึกษาที่ 1 ปี
การศึกษา 2556 จำนวน 112 คน ที่กำลังศึกษารายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 โดยศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ความคงทนในการเรียนรู้และความสุขในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และ T - test dependent และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเรื่องระบบโครงร่างของร่างกาย (M=40.54  SD=3.60) สูงกว่าการสอนแบบบรรยาย(M=10.56  SD=2.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเรื่องระบบโครงร่างของร่างกาย (M = 40.54  SD = 3.60) ไม่แตกต่างกันกับคะแนนเฉลี่ยหลังจาก 2  สัปดาห์ (M=40.18 SD=3.47)  (มีความคงทนในการเรียนรู้)
2.    ความสุขของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ในระดับมาก
3.    ความสุขในการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ .05 (p>0.05)


คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาระบบ
              โครงร่างของร่างกาย ความสุขในการเรียน

 

Abstract


The quasi-experimental research was conducted to compare the effect of
peer-assisted learning (PAL) and traditional lecture teaching strategies on the nursing students’ achievement on the human skeletal system of the Anatomy and Physiology
I course, and to determine the happiness in learning among students participated in the PAL group. The sample of 112 first year students taking that course in the first term of the academic year of 2556 was included in this study.  Descriptive statistics and inferential statistics, dependent t-test was used to analyze the data The study showed that
1.    The student’s post-test scores of the PAL group (M=40.54,  SD= 3.60) was
statistically significantly higher than those of the traditional lecture group (M=10.56  SD=2.87) at p < .012. Among the PAL group, the student’s post-test scores right after the completion of the learning/teaching (M=40.54,  SD= 3.60) and those at the 2-week after the completion (M=40.18  SD=3.47) was not statistically significantly at p < .05 indicating that the PAL strategies may help with students’ learning retention.
2.    Among the PAL group, the average happiness in learning toward the PAL strategies was high
3.    There is no statistically significantly association between happiness in learning and learning achievement at p =.05


Keywords : Peer-Assisted Learning, Anatomy and Physiology, Human skeletal system,
                 happiness in learning



Author Biographies

จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

เบญจวรรณ ช่วยแก้ว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย