การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
ow back pain during pregnancy, health promoting program, pregnant women, continuous quality improvementบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สูติแพทย์ หัวหน้างานห้องคลอด หัวหน้างานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย และพยาบาลแผนกฝากครรภ์ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย แนวทางการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ สื่อวีดิทัศน์และคู่มือปฏิบัติตัวสำหรับหญิงตั้งครรภ์นำร่องใช้โปรแกรมระหว่างวันที่ 8 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2557 โดยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกฝากครรภ์จำนวน 6 คน นำร่องใช้กับหญิงตั้งครรภ์จำนวน 18 คน
ผลการนำร่องใช้ พบว่า โดยเฉลี่ยพยาบาลร้อยละ 96.96 สามารถปฏิบัติตามแนวทางการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพทุกกิจกรรม ในด้านความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้โปรแกรมพบว่า พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุดถึงร้อยละ 93.33 ส่วนด้านความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมีความพึงพอใจต่อความง่ายในการนำไปปฏิบัติของเนื้อหาที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง จากการที่พยาบาลส่วนมากสามารถปฏิบัติกิจกรรมของโปรแกรมได้ทุกกิจกรรม
ทั้งพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อพยาบาลที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ ทำให้งานบริการพยาบาลมีคุณภาพเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
คำสำคัญ : อาการปวดหลังส่วนล่างขณะตั้งครรภ์ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
Abstract
The purpose of this study was to develop a health promoting program for
preventing low back pain among pregnant women at Chiang Yuen Hospital, Mahasarakham province, using Continuous Quality Improvement (CQI). Participants included an
obstetrician, a head of the labor ward, a head of the community practitioner department, a physiotherapist, a Thai traditional medicine doctor, and six nurses of an antenatal clinic. The health promoting program consisted of a guideline for applying the program, a videotape, and a practical handbook for pregnant woman to prevent their low back pain. The health promoting program was piloted by the six nurses working in the
antenatal clinic, to eighteen pregnant women between January 8 and February 26, 2014.
The result showed that around 96.67% of nurses followed all activities of the
program. Nurses were satisfied with the application of the health promoting program at the good and the most levels. About 93.33% of nurses were satisfied at the most level. The pregnant women were satisfied with the ease of the program at the most level. It is concluded that the health promoting program for preventing low back pain among pregnant women is feasible to use to prevent low back pain during pregnancy as nurses were able to follow all activities of the program. Both nurses and pregnant women were satisfied with the program at the highest level. Therefore, this developed health promoting program can be a useful tool for nurses to use in caring for pregnant women, increasing the quality of nursing care in the future.
Keywords : low back pain during pregnancy, health promoting program,
pregnant women, continuous quality improvement