การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • อโนชา ทัศนาธนชัย กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ชรัญญากร วิริยะ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • พรเพ็ญ ภัทรากร สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลเมืองบ้านบึง เลขที่ 335, ถนนชลบุรี-บ้านบึง, ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี, 20170

คำสำคัญ:

Model Development, Hypertension, Quality of Life, Action ResearchFamily and Community Participation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการกับแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะโรคเรื้อรังเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา 2) การพัฒนารูปแบบ ใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) ติดตามประเมินผลการพัฒนา
รูปแบบ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนและผู้ดูแล 200 ครอบครัว และเข้าร่วมการพัฒนารูปแบบ เป็นผู้ป่วย 37 คน ผู้ดูแล 16 คน และแกนนำชุมชน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มี
ส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Dependent t-test และวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.50) อายุเฉลี่ย 65.17 (SD=10.79) ปี ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 7.93 (SD=5.72) ปี ร้อยละ 68.0 ไม่สามารถควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคหัวใจ (ร้อยละ 10.0) ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ (ร้อยละ 9.0) โรคไต (ร้อยละ 6.5) กระบวนการพัฒนารูปแบบ มี 3 ระยะ คือ 1) การเตรียมความพร้อมผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน 2) การพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย การวางแผนแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแลกลุ่มช่วยเหลือตนเอง 3) การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลของการพัฒนารูปแบบ พบว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังการเข้าร่วมพัฒนารูปแบบสูงขึ้น เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Dependent t-test พบ ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมก่อนและหลังเข้าร่วมพัฒนารูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t= 4.148, p<.001) ผลของการพัฒนารูปแบบผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและริเริ่มการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่มี อสม.เป็นผู้ประสานงานกับพยาบาลชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า พยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสามารถนำกลวิธีและกระบวนการพัฒนารูปแบบไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ
ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนได้


คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ  โรคความดันโลหิตสูง  คุณภาพชีวิต  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
              การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

 

Abstract


The purpose of this community-based action research and innovative care for chronic
conditions (ICCC) framework were used to develop the quality of life for hypertension patients’ model on the basis of family and community participation at Banbung Municipality, Chon-buri province. Three steps of research process included 1) situational analysis 2) model development applied A-I-C technique, and 3) evaluated the effects of model development. The participants in the first step were 200 families and 40 families including 37 hypertension patients’ with complications, 16 caregivers, and 19 community leaders were involved into the model development. Interviewing, focus group, in-depth interview, participatory and non-participatory observation methods were used to collect data. Descriptive statistics, dependent t-test, and content analysis were performed to analyze the data.
The finding of the study revealed that the majority of patients were female (60.50%) with an average of 65.17 (SD=10.79) years in age and an average of 7.93 (SD=5.72) years with hypertension illness. Sixty eight percents could not control blood pressure, and the most common complications were heart disease (10.0%), stroke (9.0%), and renal failure (6.5%). The process of model development was composed of 1) forming the participants readiness 2) model development including initiated strategic plan, strengthen patients and caregivers’ capacities, and self help group, and 3) forming network.  The effects of model development could improve patients’ knowledge, self care skills and increased the overall quality of life. Dependent t-test indicated that the model significantly affected patients quality of life (t=4.148, p<.001). In addition, the model could initiate networking by the community leaders collaborated to community nurses and local government supporting. The findings suggest that community nurse could applied the process and strategies of
the model to improve quality of life for hypertension patients and others chronic conditions on the basis of family and community participation accordingly to their contexts.


Keywords : Model Development  Hypertension  Quality of Life  Action Research  
                 Family and Community Participation



Author Biographies

สมสมัย รัตนกรีฑากุล, กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

อโนชา ทัศนาธนชัย, กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

ชรัญญากร วิริยะ, กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

พรเพ็ญ ภัทรากร, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลเมืองบ้านบึง เลขที่ 335, ถนนชลบุรี-บ้านบึง, ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี, 20170

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลเมืองบ้านบึง

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย