การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเมือง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นิลุบล วินิจสร APN เวชปฏิบัติชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
  • ปรีดา ตั้งจิตเมธี โรงพยาบาลปทุมธานี 7 ตำบล บางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปทุมธานี
  • นฤนาท ยืนยง โรงพยาบาลปทุมธานี 7 ตำบล บางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปทุมธานี
  • สมคิด ปานบุญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

คำสำคัญ:

elderly, chronic disease, community involvement, care model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ปัจจุบันการแพทย์และการสาธารณสุข ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเหตุให้โรคต่างๆ มีวิธีการป้องกันและการรักษาที่ทันสมัยส่งผลให้คนมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เกิดปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการวิจัยเรื่องนี้ จึงมีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเมืองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
บางขะแยง ตามแนวคิดโมเดลการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ใช้กระบวนการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอน การวิเคราะห์สถานการณ์ การลงมือปฏิบัติการ
การประเมินผล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เจาะลึก
เป็นระยะเวลา 9 เดือน จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 60 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดประกอบด้วย 6 กลุ่มหลักคือ 1) ผู้บริหารสาธารณสุข  2) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 5) ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังและ 6) อาสาสมัครดูแล
ผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มรับรู้ปัญหาสุขภาพ และผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแก้ปัญหาสุขภาพโดยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง แต่ยังพบปัญหาว่าไม่สามารถไปรับการรักษาต่อเนื่องตามนัดได้ทุกครั้ง เพราะผู้ดูแลต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และ
ผู้สูงอายุ
โรคเรื้อรังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางด้วยรถประจำทางสาธารณะโดยลำพัง ผลการศึกษาครั้งนี้ มีความคาดหวังในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนบางขะแยง ดังนี้ 1) ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ดูแล มีความต้องการความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่นำไปปฏิบัติได้จริง และการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง  2) ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุขาดแรงจูงใจ ขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ส่วนเจ้าหน้าที่สุขภาพในชุมชนต้องการให้มีแผนงานดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างชัดเจนและ  3) ด้านผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารทางด้านสาธารณสุขต้องการพัฒนา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเรื้อรังให้มีคุณภาพตาม
เครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award) สำหรับผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนและทีมสุขภาพมีความต้องการให้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว อาทิเช่น การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุโดยให้ค่าตอบแทนจิตอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุ และควรสนับสนุน
ให้บริการ รถ รับ-ส่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขได้สะดวก
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหารด้านสาธารณสุขควรนำรูปแบบการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังนี้ไปกำหนดเป็นนโยบาย แนวทางในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางขะแยงต่อไป
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ  โรคเรื้อรัง  การมีส่วนร่วมของชุมชน  รูปแบบการดูแล

 

Abstract


Nowadays, medical science and health have been developed continually to prevent more diseases. Advanced treatments can help prolong human life and cause
demographic change in society. However, health problems of the older adults still
increases constantly. Therefore, the objective of this study is to develop chronic disease care model for the older adults in urban  communities using community participation.
A participatory action research was used, and it included  several stages such as situation analysis, transaction and evaluation. Data was collected from questionnaires, focus group discussion, and in-depth interview for a period of nine months. Sixty participants were purposively selected from the six main groups: 1) the executives of public health, 2) the local administrative authority, 3) health officers, 4) older adults having chronic diseases, 5) caregivers of older adults having chronic diseases, and 6) volunteers of older adults having chronic disease. Demographic data was analyzed by using descriptive statistics. Content analysis was performed to analyze qualitative data from focus group discussion.
The results revealed that participants concerned about health problems and the impact of health problems of older adults having chronic diseases. Older adults having chronic illness regularly went to hospital for monthly check up. However, some older adults with chronic  illness missed physician appointment due to the lack of caregiver for taking care of older adults during hospital visit and the limitation of older adults’ physical  function to use public transportation alone. The expectation of participants to develop older adults care in Bangkhayaeng community consisted of 3 dimensions :
1) The clients dimension: older adults and their caregivers needed to have knowledge about chronic  disease that was practical to use for self-management and needed to have healthcare providers for regularly home visit, 2) The health care providers dimension
: Community  health workers lacked of knowledge and motivation to provide care with older adults  having chronic illness. Health care providers needed to have the effective care plan for  older adults with chronic disease, and 3) The executives dimension :
the executive of  public health needed to develop successful quality care at Tambon Health Promoting Hospital  based on Primary Care Award requirements. For local government executives, public  health team needed that following: a financial support to set up the older adults care center to provide long-term care for older adults, a grant budget for supporting older adults volunteer, and a transportation for the older adults to health check up.
Therefore, the results of this study can be used for executive local government and public health to have models in develop a community policy and strategy to
promote care of chronic diseases among older adults in the Bangkhayaeng community.
Keywords : elderly,  chronic disease,  community involvement,  care model



Author Biographies

นิลุบล วินิจสร, APN เวชปฏิบัติชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง จังหวัดปทุมธานี

ปรีดา ตั้งจิตเมธี, โรงพยาบาลปทุมธานี 7 ตำบล บางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปทุมธานี

นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

นฤนาท ยืนยง, โรงพยาบาลปทุมธานี 7 ตำบล บางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปทุมธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

สมคิด ปานบุญ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง จังหวัดปทุมธานี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย